![]() |
การนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน |
Creator | สมจินตนา จิรายุกุล |
Contributor | จรูญศรี มาดิลกโกวิท, อมรวิชช์ นาครทรรพ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เศรษฐกิจพอเพียง, การวางแผนการศึกษา, การพัฒนาชุมชน, ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาและปัจจัยเงื่อนไขของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน (2) เพื่อวิเคราะห์ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน (3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน และ (4) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการศึกษาสภาพการจัดการศึกษาและปัจจัยเงื่อนไขของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยการศึกษาเอกสาร และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (2) ขั้นการวิเคราะห์ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นกรณีศึกษา โดยการสำรวจข้อมูลความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของครัวเรือน (3) ขั้นวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน 6 กิจกรรม คือ การผลิต การบริโภค การตลาด การลงทุน การออมและสวัสดิการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและ (4) ขั้นการนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดย SWOT analysis ยกร่างยุทธศาสตร์และตรวจสอบโดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน ตามกรอบภารกิจ 4 ด้าน คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีนโยบายเป็นไปตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การวิจัยและบริการทางวิชาการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสนองโครงการพระราชดำริ มีการจัดกิจกรรมและมีเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน สถาบันการศึกษาและองค์กรในท้องถิ่น ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยภายใน ความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์ บุคลากรและการส่งเสริมของผู้บริหาร ปัจจัยภายนอก มีความใกล้ชิดชุมชน มีเครือข่ายความร่วมมือ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค อาทิเช่น งบประมาณจำกัด คณาจารย์มีภาระงานสอนมาก และขั้นตอนระบบการทำงานไม่เอื้อลงพื้นที่ชุมชน ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนที่เป็นกรณีศึกษา พบว่า ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระดับชุมชน มีองค์กรชุมชน กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายการพัฒนาและการจัดทำแผนชุมชนระดับดี ระดับครัวเรือน มีสัมมาชีพ การว่างงานต่ำ รายได้มากกว่ารายจ่าย มีความเหลื่อมล้ำของรายได้ในชุมชนเมืองและชุมชนกึ่งเมืองมากกว่าชุมชนชนบทที่ยึดแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์ กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน พบว่า ด้านการผลิต มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิต มีกิจกรรมการเรียนรู้จากการศึกษาดูงาน เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีฐานการเรียนรู้ทั้งในชุมชนและภายนอกชุมชน ด้านการบริโภคมีกระบวนการเรียนรู้การบริโภคตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการตลาดมีองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ขาดองค์ความรู้ในการวางแผนการตลาดและช่องทางการตลาด ด้านการลงทุนขาดองค์ความรู้ในการลงทุนสู่วิสาหกิจชุมชน/ธุรกิจชุมชนก้าวหน้า การออมมีกระบวนการเรียนรู้การออมโดยกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน การศึกษาเรียนรู้และการดูงาน ด้านสวัสดิการมีกระบวนการเรียนรู้ต่อยอดจากกลุ่มออมทรัพย์และการจัดสวัสดิการของภาครัฐ การนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก 5 ยุทธศาสตร์คือ 1) ยกระดับความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือในท้องถิ่นเพื่อการผลิตบัณฑิตป้อนระบบเศรษฐกิจชุมชน 2) พลิกโฉมการวิจัยสู่การวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อเสริมสร้างชุมชนเศรษฐกิจเข้มแข็ง 3) การเชื่อมงานบริการวิชาการกับองค์ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัยสู่การริเริ่มทางเศรษฐกิจของชุมชน 4) การจัดการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่มีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ 5) เปลี่ยนกระบวนทัศน์การบริหารจัดการระดับท้องถิ่นมุ่งเสริมสร้างชุมชนเศรษฐกิจเข้มแข็ง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |