การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยเพื่อสื่อสารปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึกจากกวีนิพนธ์ของรพินทรนาถ ฐากูร
รหัสดีโอไอ
Title การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยเพื่อสื่อสารปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึกจากกวีนิพนธ์ของรพินทรนาถ ฐากูร
Creator รัชฎาวรรณ รองทอง
Contributor ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ตากอร์, รพินทรนาถ, เซอร์, ค.ศ. 1861-1941, นิเวศวิทยาแนวลึก, กวีนิพนธ์, นิเวศวิทยาในวรรณกรรม, การสื่อสารกับศิลปะ, Tagore, Rabindranath, 1861-1941, Deep ecology, Poetry, Ecology in literature, Communication and the arts
Abstract การวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อดัดแปลงสื่อจากกวีนิพนธ์ของ รพินทรนาถ ฐากูร สู่การแสดงร่วมสมัยเพื่อสื่อสารปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการแสดงร่วมสมัยจากการดัดแปลงกวีนิพนธ์ของ รพินทรนาถ ฐากูร ของทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ชมทั่วไป และเพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้ชมต่อปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก โดยการเสวนาหลังการแสดงและสำรวจทัศนคติจากแบบสอบถาม จากการแสดงทั้ง 3 รอบมีผู้ร่วมเสวนาจำนวน 27 คนและผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 76 คน การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยเรื่อง “โอ้โลกที่รัก” เริ่มกระบวนการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 กวีนิพนธ์ที่นำมาใช้ประกอบด้วย (1) เรื่อง “โอ้โลกที่รัก” (“Earth”) ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2479 (แปลโดย กิติมา อมรทัต ในผู้สัญจรนิรันดร, 2526) (2) จากหนังสือคีตาญชลี (ถอดความโดย กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย, 2540) (3) จากหนังสือนกเถื่อน จำนวน 7 บท (แปลโดย ปรีชา ช่อปทุมมา, 2547) นำมาร้อยเรียงและปรับเปลี่ยนถ้อยคำเพื่อความเหมาะสม โดยนำเสนอแก่นสารคือการกระทำต่างๆ ของมนุษย์นั้นเป็นส่วนสำคัญในการทำลายสมบูรณภาพของโลก จนท้ายที่สุดมนุษย์เองก็จะเป็นผู้ที่รับผลกระทบนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รูปแบบของการแสดงใช้จินตนาลีลาประกอบการอ่านบทกวี โดยมีนักแสดงทั้งเพศหญิงและชายเพื่อเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ไม่ระบุสถานที่และยุคสมัยเพื่อสื่อว่าสามารถเกิดได้ทุกที่บนโลก การออกแบบลีลามุ่งสื่อสารความหมายและสะท้อนอารมณ์ของกวีนิพนธ์ในแต่ละช่วง ดนตรีประกอบเลือกใช้ขลุ่ย (รีคอร์ดเดอร์) บรรเลงแบบกึ่งด้นสด การออกแบบแสงคำนึงถึงการสื่อสารอารมณ์ในแต่ละเหตุการณ์ เครื่องแต่งกายคำนึงถึงความเรียบง่ายและสื่อความหมายเป็นชาติใดๆ ก็ได้ นอกจากนี้ยังมี สื่อผสมเน้นย้ำความหมายของบทกวี ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้ชมมีทัศนคติต่อองค์ประกอบในการแสดงอยู่ในเกณฑ์ดี องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุด 3 อันดับคือ (1) ดนตรีประกอบ (2) นักแสดง และ (3) การออกแบบแสง (4) ประเด็นเนื้อหา (x-bar = 4.39, 4.25/ S.D. = 0.68, 4.25/ S.D. = 0.71 และ 4.24 ตามลำดับ) และจากการเสวนาทำให้พบว่า การแสดงในครั้งนี้ ทำให้การอ่านบทกวีมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เห็นว่า ภาพรวมของการแสดงช่วยให้สามารถเข้าใจประเด็นเนื้อหาของบทกวีได้ง่ายขึ้น แก่นสารจากการแสดงทำให้ผู้ชมเห็นความความเชื่อมโยงเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดจากมนุษย์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกธรรมชาติเสียสมดุลยภาพ ผลจากการวิจัยยังพบว่า การรับรู้ต่อปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึกอยู่ในเกณฑ์มาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ (1) ชีวิตหนึ่งๆ คือธุลีอันน้อยนิดของโลก (2) ชีวิตมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นพลวัตของโลก และ (3) เมื่อมนุษย์ทำร้ายโลก โลกย่อมทำร้ายมนุษย์ฉันใดก็ฉันนั้น (x-bar = 4.29, 4.28 และ 4.25 ตามลำดับ) ส่วนอีก 3 อันดับที่มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ เมื่อโลกถูกรบกวนให้เสียสมดุล พิบัติภัยทางธรรมชาติคือการปรับสมดุลของโลก บูรณาภาพนิยมของโลกคือการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งทั้งบวกและลบ และความละโมบของมนุษย์นำไปสู่การกอบโกยผลประโยชน์จากสรรพสิ่ง (x-bar = 4.22, 4.21 และ 4.20 ตามลำดับ)
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ