![]() |
การนำหลัก Attribution ในการกำหนดเงินได้ให้กับสถานประกอบการถาวร (The attribution of profits to permanent establishments) ตาม OECD model มาใช้ในประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การนำหลัก Attribution ในการกำหนดเงินได้ให้กับสถานประกอบการถาวร (The attribution of profits to permanent establishments) ตาม OECD model มาใช้ในประเทศไทย |
Creator | รัฐพล ปั้นทองพันธุ์ |
Contributor | ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | บรรษัทข้ามชาติ -- ภาษี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย, อนุสัญญาภาษีซ้อน, ภาษี -- ความร่วมมือระหว่างประเทศ, ภาษี -- ไทย, International business enterprises -- Taxation -- Law and legislation -- Thailand, Double taxation -- Treaties, Taxation -- International cooperation, Taxation -- Thailand |
Abstract | ศึกษารายงานเรื่องหลัก Attribution ในการกำหนดเงินได้ให้กับสถานประกอบการถาวร (Report on the attribution of profits to permanent establishments) ของ OECD 2008 ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาข้อบัญญัติข้อ 7 ของอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD model 2010 เพื่อวิเคราะห์และนำมาปรับใช้กับข้อบัญญัติอนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศไทย จากการศึกษาหลัก Attribution ของ OECD model พบว่าการจัดเก็บภาษีจากสถานประกอบการถาวรประกอบไปด้วยสองขั้นตอนสำคัญ คือ 1. การวิเคราะห์หน้าที่งานตามจริง (functional and factual analysis) ของสถานประกอบการถาวรตามหลักวิสาหกิจอิสระและแยกต่างหาก (separate and distinct enterprise) และ 2. การนำ Transfer Pricing Guidelines ภายใต้ข้อบัญญัติข้อ 9 มาปรับใช้ในบริบทของสถานประกอบการถาวรเพื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ (comparability analysis) เพื่อให้สถานประกอบการถาวรได้ผลตอบแทน arm’s length อย่างแท้จริง ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีเพียงคำสั่งของกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 เท่านั้นที่ได้พยายามนำ Transfer Pricing Guidelines มาปรับใช้ซึ่งคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร และไม่มีฐานะเป็นกฎหมายแต่อย่างใด นอกจากนั้น ประเทศไทยก็ยังคงไม่มีการวิเคราะห์หน้าที่งานตามจริงตามหลักวิสาหกิจอิสระและแยกต่างหาก และการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อให้สถานประกอบการถาวรได้ผลตอบแทน arm’s length แต่อย่างใด และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เป็นสมาชิกของ OECD แต่ประเทศไทยก็ควรให้ความสำคัญและทำการศึกษาเพื่อพัฒนาข้อบัญญัติอนุสัญญาภาษีซ้อนให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |