![]() |
ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพชุมชนจากมูลสุกรร่วมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร : กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพชุมชนจากมูลสุกรร่วมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร : กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ |
Creator | ราชวณิชย์ ชำนาญ |
Contributor | ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช, สุภวัฒน์ วิวรรธ์ภัทรกิจ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ของเสียทางการเกษตร -- ไทย -- ชัยภูมิ, ก๊าซชีวภาพ -- ไทย -- ชัยภูมิ |
Abstract | การนำวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรมาเป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซชีวภาพโดยหมักร่วมกับมูลสัตว์ เป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน กล่าวคือ นอกจากเป็นการเพิ่มมูลค่าและลดมลพิษทางอากาศจากการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรแล้ว ยังอาจเพิ่มผลผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักของเสียจากฟาร์มสุกร ส่งผลให้มีแหล่งพลังงานในชุมชนเพิ่มเติม สามารถใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ในครัวเรือน หรือกรณีที่มีปริมาณมากพอ อาจนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปผลิตไฟฟ้าขายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชน จังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทั้งปลูกอ้อยและเลี้ยงสุกร มีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 425,148 ไร่ มีฟาร์มสุกรมาตรฐานรวม 30 ฟาร์ม จึงมีศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพชุมชนหากมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม จากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการที่มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์พบว่าหากกำหนดราคารับซื้อใบอ้อยตันละ 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรส่วนใหญ่พึงพอใจ ประมาณ 11 ฟาร์มมีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ในการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียฟาร์มสุกร และมีเพียง 4 ฟาร์มที่มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ในการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมระหว่างของเสียฟาร์มสุกรกับใบอ้อย อย่างไรก็ตามผลตอบแทนของโครงการหมักร่วมจะใกล้เคียงหรือสูงกว่าการหมักของเสียจากฟาร์มเพียงอย่างเดียว หากประเมินราคารับซื้อใบอ้อยตันละ 60-80 บาท ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กล่าวคือส่งเสริมการผลิตพลังงานชีวภาพควบคู่กับการลดมลพิษทางอากาศจากการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ภาครัฐควรกำหนดมาตรการห้ามการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรในพื้นที่เพาะปลูก พร้อมกับให้การสนับสนุนราคารับซื้อใบอ้อยเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรสนใจรับซื้อใบอ้อยและเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรอื่นๆมาเป็นวัตถุดิบร่วมในการผลิตก๊าซชีวภาพต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |