![]() |
ความหลากหลายทางชนิดของแมงมุมในพื้นที่ป่าทุติยภูมิ และพื้นที่เกษตรที่ตำบลไหล่น่าน อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ความหลากหลายทางชนิดของแมงมุมในพื้นที่ป่าทุติยภูมิ และพื้นที่เกษตรที่ตำบลไหล่น่าน อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
Creator | นรินทร์ ชมภูพวง |
Contributor | สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์, ณัฐพจน์ วาฤทธิ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | แมงมุม -- ไทย -- น่าน, ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ -- ไทย -- น่าน, ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ -- การประเมิน |
Abstract | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือการประเมินความหลากหลายของแมงมุมโดยเปรียบเทียบลักษณะพื้นที่สามประเภทคือ ป่าทุติยภูมิ พื้นที่ชายป่า และพื้นที่การเกษตร ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยเก็บตัวอย่างแมงมุมด้วยวิธีการวางกับดักหลุม การเก็บดินและเศษซากใบไม้ การจับด้วยมือ และการใช้สวิงการศึกษานี้ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกันยายน 2553 ถึงเดือน สิงหาคม 2554 ผลการศึกษาพบว่าเก็บตัวอย่างแมงมุมได้ทั้งหมด 2,397ตัว จัดจำแนกออกเป็น 26 วงศ์โดยแมงมุมวงศ์ที่มีความชุกชุมมากที่สุดในพื้นที่ป่าทุติยภูมิและพื้นที่ชายป่าคือวงศ์ Araneidae (22% และ 23% ตามลำดับ) ขณะที่พื้นที่การเกษตรพบแมงมุมวงศ์ Lycosidae มากกว่า 52% สำหรับค่าดัชนีความมากชนิดของมากาแลฟ ดัชนีแชนนอน ดัชนีซิมป์สัน และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของพีลิว ในพื้นที่ป่าทุติยภูมิมีค่ามากกว่าพื้นที่การเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความชุกชุมของแมงมุมวงศ์ที่สำคัญพบว่าแมงมุมวงศ์ Lycosidae ในพื้นที่การเกษตรมีความชุกชุมมากกว่าพื้นที่ป่าทุติยภูมิและพื้นที่ชายป่า ส่วนแมงมุมในวงศ์ Araneidae,Salticidae,Oxyopidae,Tetragnathidae, Thomisidaeและ Theridiidaeในพื้นที่ป่าทุติยภูมิมีความชุกชุมมากกว่าพื้นที่การเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบกิลด์ของแมงมุม พบว่าสัดส่วนของแต่ละกิลด์ในทั้งสามพื้นที่วิจัยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแมงมุมนักล่าอื่นๆ และแมงมุมใยกลมพบมากในพื้นที่ป่าทุติยภูมิและพื้นที่ชายป่า ขณะที่แมงมุมนักล่าตามพื้นพบมากในพื้นที่การเกษตร ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงการรบกวนและการดัดแปลงพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่การเกษตรส่งผลให้ความหลากหลายแมงมุมลดลงและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มความชุกชุมของแมงมุมที่อยู่ตามพื้นดินอันเนื่องมาจากลักษณะความแตกต่างระหว่างพื้นที่ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |