![]() |
ความต้องการที่อยู่อาศัยหลังเกษียณของบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ความต้องการที่อยู่อาศัยหลังเกษียณของบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Creator | ปิยดา พันสนิท |
Contributor | สุปรีชา หิรัญโร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | มหาวิทยาลัยขอนแก่น -- ข้าราชการ, ข้าราชการ -- การเกษียณอายุ, ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย |
Abstract | บ้านพักข้าราชการที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรที่ย้ายมาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่นทำให้บุคลากรที่มีภูมิลำเนาต่างถิ่นบางส่วนต้องจัดหาที่อยู่อาศัยเองและเมื่อปฏิบัติงานจนเกษียณการจัดการที่อยู่อาศัยหลังเกษียณจึงเป็นปัญหาต่อบุคลากรที่มีภูมิลำเนาต่างถิ่นมากดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการอยู่อาศัย ของบุคลากรก่อนเกษียณรวมถึงความต้องการและประเภทที่อยู่อาศัยหลังบุคลากรเกษียณแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยการวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือศึกษา 253 ตัวอย่างที่มีอายุตั่งแต่ 50-60 ปี ไม่ใช่คนที่เกิดและมีภูมิลำเนาเดิมในจังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรต่างถิ่นที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 44.7 ส่วนมากเป็นข้าราชการสมรสแล้ว การศึกษาปริญญาโท มีรายได้บุคคลเฉลี่ยต่อเดือน 50,001-75,000 บาท ที่อยู่อาศัยเดิมส่วนใหญ่อาศัยอยู่บ้านบิดา มารดาและอยู่กับบิดา มารดา เป็นหลัก เมื่อย้ายมาทำงานส่วนมากจะอาศัยอยู่นอกมหาวิทยาลัยในบ้านตนเองโดยจะซื้อบ้านจัดสรร ร้อยละ 33.6 แบบบ้านเดี่ยวเมื่ออายุ 36- 40 ปี ที่ราคา 2,000,001-3,000,000 บาท เนื่องจากสะดวกและกู้เงินง่าย และใช้สวัสดิการเคหะสงเคราะห์ มข. คู่กับสถาบันการเงินนอกมหาวิทยาลัยเป็นหลัก รองมาคือสร้างบ้านอยู่เอง ร้อยละ 22.1 เนื่องจากกำหนดความต้องการได้ เมื่ออายุ 30 -35 ปี ราคาบ้าน มากกว่า 3,000,000 บาท โดยเริ่มซื้อที่ดินไว้ก่อนแล้วจึงสร้างบ้านอยู่เอง และใช้สถาบันการเงินนอกมหาวิทยาลัยช่วยให้มีที่อยู่อาศัย โดย5 ปัจจัยแรกในการเลือกที่อยู่อาศัยนอกมหาวิทยาลัย คือ1.ใกล้ที่ทำงาน 2.ราคาเหมาะสม 3.สภาพแวดล้อมดี 4.ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5.ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนบุคลากรที่อยู่บ้านพักราชการ ส่วนใหญ่จะสมรสแล้วและมีบุตร 2 คน ตามลำดับ โดยบุคลากรที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีอายุราชการ 21-30 ปี และเมื่อเกษียณอายุแล้ว พบว่า ร้อยละ 63.2 จะไม่กลับภูมิลำเนาเดิม ซึ่งเป็นคู่สมรส รองมาคือคนโสด ที่ยังคงต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณที่จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากทำงานนานจนเคยชินในสถานที่อันดับแรก รองมาคือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา มีเพียงร้อยละ14.6 ที่ต้องการกลับภูมิลำเนาเดิมซึ่งสิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจมากสุดคือ กลับไปอยู่ใกล้ญาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนโสด รองมาคือคู่สมรส ส่วนความไม่แน่ใจจะกลับหรือไม่ จำนวนร้อยละ 22.1 ส่วนใหญ่เป็นคู่สมรส รองมาคือ คนโสด สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจ คืออนาคต รองมาคือตามบุตร การมีบ้าน 2 แห่ง ตามลำดับ ส่วนผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ 75 คนแต่ต้องการซื้อบ้านในจังหวัดขอนแก่น ร้อยละ 81.3 ส่วนใหญ่เป็นคู่สมรสที่มีบ้านแล้วจะซื้อใน 5-10 ปี เพราะเป็นบ้านพักผ่อน รองมาเป็นผู้ที่พักบ้านพักราชการจะซื้อภายใน 2-5 ปีเพราะไม่มีบ้านของตนเอง โดยผู้ซื้อบ้านใหม่จะซื้อบ้านเดี่ยว ราคา 2,000,001-3,000,000 บาท และต้องการให้หาแหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำผ่อนที่อยู่อาศัยใหม่ ส่วนปัจจัยเลือกซื้อบ้านที่ต้องการอยู่หลังเกษียณ 5 อันดับแรกคือ 1.ราคาเหมาะสม 2.สภาพแวดล้อมดี 3.ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก 5.ใกล้แหล่งทำงาน ส่วนผู้ไม่ต้องการซื้อบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.4 มีที่อยู่เดิมเหมาะสมแล้ว รองมาคือผู้ที่ปรับปรุงที่อยู่ใหม่ร้อยละ 32.6 ต้องการให้หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำซ่อมแซมปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิม ส่วนผู้สร้างที่อยู่เอง ร้อยละ21.3 ต้องการให้หาแหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ สร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในที่ดินเดิม ตามลำดับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |