ประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในวิธีถดถอยโลจิสติก โดยใช้เกณฑ์ขนาดอิทธิพล 2 วิธี สำหรับข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบทวิวิภาค : ข้อมูลจำลองและข้อมูลเชิงประจักษ์
รหัสดีโอไอ
Title ประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในวิธีถดถอยโลจิสติก โดยใช้เกณฑ์ขนาดอิทธิพล 2 วิธี สำหรับข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบทวิวิภาค : ข้อมูลจำลองและข้อมูลเชิงประจักษ์
Creator ธเกียรติกมล ทองงอก
Contributor โชติกา ภาษีผล, ศิริชัย กาญจนวาสี
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราความถูกต้องและอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการให้คะแนนแบบทวิวิภาค โดยการจำลองข้อมูลและ ข้อมูลเชิงประจักษ์ ในวิธีถดถอยโลจิสติก ระหว่างการวัดขนาดอิทธิพลตามเกณฑ์ Jodoin and Gierl กับเกณฑ์ Zumbo and Thomas การศึกษาครั้งนี้จำลองข้อมูลภายใต้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบสองพารามิเตอร์ จำลองผลการตอบภายใต้ปัจจัยที่แปรเปลี่ยน 4 ปัจจัย รวมข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 24 เงื่อนไข (2 x 3 x 2 x 2) คือ รูปแบบของข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกัน (อเนกรูป และ เอกรูป) ขนาดของการทำหน้าที่ต่างกัน (0.1, 0.2 และ 0.4) จำนวนข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกัน (ทั้งฉบับคิดเป็นร้อยละ 10 และ 20) และความยาวของแบบสอบทั้งฉบับ (40 และ 50 ข้อ) ในทุกเงื่อนไขจำลองข้อมูลซ้ำ 25 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละเงื่อนไขด้วยวิธีถดถอยโลจิสติก ระหว่างการวัดขนาดอิทธิพลตามเกณฑ์ Jodoin and Gierl และเกณฑ์ Zumbo and Thomas การวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้งหมดใช้ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วิธีถดถอยโลจิสติก โดยการวัดขนาดอิทธิพลตามเกณฑ์ Jodoin and Gierl มีอัตราความถูกต้องในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสูงกว่าเกณฑ์ Zumbo and Thomas ภายใต้เกือบทุกเงื่อนไข 2. ข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันแบบอเนกรูปมีอัตราความถูกต้องจากการวัดขนาดอิทธิพลทั้ง 2 เกณฑ์สูงกว่าแบบเอกรูป แบบสอบที่มีจำนวนข้อสอบทำหน้าที่ต่างกันทั้งฉบับคิดเป็นร้อยละ 20 มีอัตราความถูกต้องจากการวัดขนาดอิทธิพลทั้ง 2 เกณฑ์สูงกว่าในแบบสอบที่มีจำนวนข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันทั้งฉบับคิดเป็นร้อยละ 10 และเมื่อขนาดอิทธิพลของข้อสอบที่การทำหน้าที่ต่างกันเพิ่มขึ้น มีผลทำให้อัตราความถูกต้องจากการวัดขนาดอิทธิพลทั้ง 2 เกณฑ์เพิ่มขึ้นภายใต้เกือบทุกเงื่อนไข 3. ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าขนาดอิทธิพลตามเกณฑ์ Jodoin and Gierl ให้อัตราความถูกต้องสูงกว่า และ มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์ของ Zumbo and Thomas เมื่อข้อมูลเชิงประจักษ์มีประชากรขนาดใหญ่สามารถตรวจพบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันด้วยการทดสอบระดับนัยสำคัญอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 มีแนวโน้มสูงขึ้น ข้อเสนอแนะ : ภายใต้การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีถดถอยโลจิสติก นักวิจัยควรใช้ผลการทดสอบระดับนัยสำคัญในการตัดสินข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันร่วมกับผลของการวัดขนาดอิทธิพล
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ