![]() |
การใช้ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับต้นปาล์มน้ำมัน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การใช้ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับต้นปาล์มน้ำมัน |
Creator | ณัฐกานต์ ทู้ไพเราะ |
Contributor | อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ของเสียทางการเกษตร, การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์, ปาล์มน้ำมัน |
Abstract | การศึกษาการใช้ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับต้นปาล์มน้ำมันระยะโตเต็มที่ ที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานีวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์(RCBD) ทำ 4 ซ้ำ มี 6 ตำรับทดลอง ประกอบด้วย ดินเดิมไม่เติมสิ่งทดลอง การเติมปุ๋ยเคมี และการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตร (กากขี้แป้ง กากตะกอนน้ำเสีย เส้นใยปาล์มน้ำมันและขี้เถ้า ปาล์มน้ำมัน) 4 อัตรา การศึกษาครั้งนี้มี 24 หน่วยทดลอง โดยหนึ่งหน่วยทดลองคือต้นปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมเทเนอราอายุ 5 ปี จำนวน 9 ต้น ผลการศึกษาพบว่าการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรส่งผลให้การเติบโต (พื้นที่ทางใบ ความยาวทางใบ พื้นที่หน้าตัดแกนทางใบ และจำนวนทางใบเพิ่ม) ของต้นปาล์มน้ำมันได้เท่าเทียมและดีกว่าการเติมปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.5)ทั้งนี้การเติมกากขี้แป้งร่วมกับกากตะกอนน้ำเสียเส้นใยปาล์มน้ำมัน และขี้เถ้าปาล์มน้ำมัน (3:1:1:1) อัตรา 15 กก./ต้น ส่งผลให้ดินเพิ่มความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณธาตุอาหาร (N, P, Mg และ Zn) มากกว่าการเติมปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณจุลธาตุสังกะสี(Zn)ที่พบเป็นประโยชน์ต่อต้นปาล์มน้ำมันและอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐานดิน อีกทั้งมีประสิทธิภาพการดูดดึงไนโตรเจนแตกต่างการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรตำรับอื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง(p<0.1) นอกจากนี้การเติมของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในใบปาล์มน้ำมันไม่แตกต่างทางสถิติกับการเติมปุ๋ยเคมี และสามารถรักษาระดับแมกนีเซียมในใบปาล์มน้ำมันให้สูงกว่าค่าวิกฤตได้ กล่าวได้ว่า ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรสามารถใช้ประโยชน์เป็นแหล่งธาตุอาหารสำหรับต้นปาล์มน้ำมันได้ นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์กลับคืนสู่พื้นที่การเกษตรได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และลดปัญหามลพิษทางดินและน้ำจาก ของทิ้งอุตสาหกรรมเกษตร |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |