การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ในสถาบันอุดมศึกษา
รหัสดีโอไอ
Title การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ในสถาบันอุดมศึกษา
Creator ปาริชาติ ปาละนันทน์
Contributor ศักดิ์ พลสารัมย์, ทีป เมธาคุณวุฒิ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ระบบการเรียนการสอน, เทคโนโลยีทางการศึกษา, การสอนด้วยสื่อ -- การศึกษาความเป็นไปได้, สถาบันอุดมศึกษา
Abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ พร้อมทั้งวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ตามกรอบการศึกษาความเป็นไปได้ 5 ด้าน (TELOS) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ตามสภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการจัดการเรียนการสอนที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวน 43 คน (2) ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน และบุคลากรที่มีหน้าที่กำกับและดูแลรับผิดชอบโดยตรงกับพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ จำนวน 27 คน (3) นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ จำนวน 84 คน (4) องค์กรธุรกิจภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ จำนวน 11 คน (5) ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบฯ จำนวน 7 คน (6) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ จำนวน 9 คน และ (7) อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อการเรียนการสอนสำหรับการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์สาระ และสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ 1.ด้านเทคนิคและระบบ (T) พบว่า มีการพัฒนาระบบและ/หรือสื่อการสอนสำหรับการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ใน 4 แบบ ได้แก่ (1) การพัฒนาระบบและสื่อการสอนด้วยซอฟต์แวร์ระบบ (Software-Based System) ในลักษณะของการบันทึกการสอน (Classroom Record/ VDO Capture) (2) การพัฒนาระบบและสื่อการสอนด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ (Hardware-Based System) ในลักษณะของการบันทึกการสอนแบบเบ็ดเสร็จ (All in one recording) (3) กระบวนการ พัฒนาสื่อการสอนจากการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูปต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน (Package Software-Based Process) (4) การพัฒนาระบบและสื่อการสอนด้วยการพัฒนาระบบโปรแกรมประยุกต์ (Application-Based System) ในลักษณะของแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์ Mobile Device โดยมีการนำทั้ง 4 แบบ มาพัฒนาในลักษณะผสมผสานกันตามความเหมาะสมของลักษณะเนื้อหารายวิชา 2. ด้านเศรษฐศาสตร์ (E) พบว่า มีการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณจาก ผลประโยชน์ในรูปแบบของผลประโยชน์ที่มองไม่เห็นหรือไม่อยู่ในรูปของตัวเงิน (Intangible Benefits) มากที่สุด ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา การส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน การส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ การขยายโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา และรองลงมา คือ ผลประโยชน์ในลักษณะของผลประโยชน์ทางอ้อมหรือการคืนประโยชน์สู่สังคม (Indirect Benefits / External Benefits) ได้แก่ การส่งเสริมสังคมที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และในส่วนของผลประโยชน์ที่มองเห็นหรืออยู่ในรูปของตัวเงิน (Tangible Benefits) ได้แก่ การลดการใช้เอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือกระดาษ 3. ด้านกฎหมาย (L) พบว่า การจัดให้มีการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ในรูปแบบสนับสนุนหรือเป็น สื่อเสริม สถาบันอุดมศึกษาไม่ต้องมีการจัดทำเป็นหลักสูตรและการขออนุมัติจากสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4. ด้านการปฏิบัติงาน (O) พบว่า มีหน่วยงานและบุคลากรที่ดูแลรับผิดชอบการผลิตสื่อการสอน และระบบการบริหารการจัดการเรียนการสอน (LMS) สำหรับการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่โดยเฉพาะ 5. ด้านตารางเวลา (S) พบว่า มีการใช้ระยะเวลาในการพัฒนาระบบฯ ตั้งแต่การจัดทำโครงการ วางแผนปฏิบัติงาน การจัดสรรและติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การทดสอบระบบ การอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จนสามารถใช้งานได้จริง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ใช้ระยะเวลาประมาณการที่ 7-12 เดือน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ