![]() |
แผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าว |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าว |
Creator | สกุล ปิยะธรรมาภาพ |
Contributor | ณัฐพร โทณานนท์, วิทิต ปานสุข |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ไฟเบอร์ซีเมนต์, วัสดุเชิงประกอบเสริมเส้นใย, โพลิเอทิลีน, Fiber cement, Fibrous composites, Polyethylene |
Abstract | ผลิตแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าว โดยที่เส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าวที่นำมาเสริมแรงนั้นเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งจากการเกษตร งานวิจัยนี้ได้แบ่งงานวิจัยออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งศึกษาผลของความยาวของเส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าว ที่มีต่อความต้านแรงดัดของแผ่นซีเมนต์ ส่วนที่สองศึกษาผลของปริมาณเจลาตินและพลาสติกรีไซเคิลที่มีต่อสมบัติเชิงกายภาพ เชิงกล และเชิงความร้อนของแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าว จากการทดลองในส่วนที่หนึ่งพบว่า การเสริมแรงด้วยเส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าวลงในแผ่นซีเมนต์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความต้านแรงดัด และมีความเหนียวเพิ่มขึ้น สำหรับความยาวที่เหมาะสมในงานวิจัยนี้คือ เส้นใยยาวที่มีการสานแบบสุ่มเป็นแผ่น และในการทดลองในส่วนที่สองพบว่า ผลของเจลาตินและพลาสติกรีไซเคิล ช่วยเพิ่มการยึดประสานระหว่างเส้นใยและซีเมนต์เพสต์ เมื่อปริมาณเจลาตินมากขึ้น ความต้านทานแรงดัดของแผ่นซีเมนต์มีค่ามากขึ้น และค่าความต้านแรงดัดของแผ่นซีเมนต์เสริมใยมะพร้าวผสมเจลาตินที่อัตราส่วน 10% มีค่าสูงสุดเท่ากับ 7.81 MPa ส่วนค่าความต้านแรงดัดของแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าวผสมพลาสติกรีไซเคิล มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออบด้วยความร้อน 250℃ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยค่าความต้านทานแรงดัดหลังอบด้วยความร้อนของแผ่นซีเมนต์เสริมใยมะพร้าวผสมพลาสติกรีไซเคิลที่อัตราส่วน 5% มีค่าสูงสุดเท่ากับ 12.45 MPa นอกจากนี้การผสมเจลาตินและพลาสติกรีไซเคิลยังช่วยลดการนำความร้อนของแผ่นซีเมนต์ โดยที่แผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากผสมเจลาตินที่อัตราส่วน 10% ค่าการนำความร้อนมีค่าเท่ากับ 0.2837 W/mK ซึ่งมีค่านำความร้อนต่ำกว่าแผ่นซีเมนต์แบบเดียวกันที่มีขายในท้องตลาดถึง 50% และแผ่นซีเมนต์เสริมเส้นใยกาบหมากและใยมะพร้าวสามารถตอกตะปูได้โดยไม่แตกร้าว ดังนั้นแผ่นซีเมนต์ที่เสริมแรงด้วยเส้นใยธรรมชาติและผสมเจลาตินและพลาสติกรีไซเคิล จึงมีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นวัสดุทดแทนไม้ รวมทั้งช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |