การผลิตน้ำมันชีวภาพจากทะลายปาล์มเปล่าโดยไพโรไลซิสในบรรยากาศไนโตรเจนและไอน้ำ
รหัสดีโอไอ
Title การผลิตน้ำมันชีวภาพจากทะลายปาล์มเปล่าโดยไพโรไลซิสในบรรยากาศไนโตรเจนและไอน้ำ
Creator พีรพล เรืองวิไลรัตน์
Contributor ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ปาล์มน้ำมัน, พลังงานชีวมวล, การแยกสลายด้วยความร้อน, Oil palm, Biomass energy, Pyrolysis
Abstract การศึกษาปัจจัยของกระบวนการไพโรไลซิสทะลายปาล์มเปล่าในบรรยากาศไนโตรเจนและไอน้ำ โดยตัวแปรขนาดอนุภาคสามระดับ คือ ขนาดเล็กกว่า 500 ไมโครเมตร ระหว่าง 500-1180 และ 1180-2230 ไมโครเมตร อัตราการป้อนสาร 150 350 และ 550 รอบต่อนาที โดยปัจจัยทั้งสองถูกนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบปัจจัยเดียว พบว่าขนาดอนุภาคที่เหมาะสม คือ ขนาดเล็กกว่า 1180 ไมโครเมตรและอัตราการป้อนสาร 350 รอบต่อนาที การออกแบบการทดลองแบบบ๊อกซ์-เบนเคนสำหรับทดสอบตัวแปรอุณหภูมิ 350 475 และ 600 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนแก๊สไนโตรเจน 0 100 และ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาทีและ 0 9 และ 18 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาทีสำหรับไอน้ำ ได้สมการคณิตศาสตร์แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรกับปริมาณน้ำมันชีวภาพที่ผลิตขึ้น พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตน้ำมันชีวภาพในบรรยากาศปกติ (ไม่มีแก๊สตัวพา) คือ อุณหภูมิ 475 องศาเซลเซียส อัตราการป้อนสาร 450 รอบต่อนาที ในบรรยากาศไนโตรเจนมีอัตราการป้อนแก๊ส 200 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที อุณหภูมิ 530 องศาเซลเซียส และอัตราการป้อนสาร 450 รอบต่อนาที สำหรับบรรยากาศไอน้ำพบว่าส่งผลให้ความไม่แน่นอนในระบบสูงจึงไม่สามารถทำนายปริมาณน้ำมันชีวภาพอย่างถูกต้องได้ จากนั้นนำน้ำมันชีวภาพจากบรรยากาศปกติ ไนโตรเจน ไอน้ำ และบรรยากาศผสม มาทดสอบสมบัติทั่วไป การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีโดยเทคนิคโปรตอน-นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโกปีและแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมทรีพร้อมทั้งระบุความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำมันชีวภาพที่ได้รับ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ