ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การขยายตัวของทรวงอก สมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในหญิงสูงอายุ
รหัสดีโอไอ
Title ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การขยายตัวของทรวงอก สมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในหญิงสูงอายุ
Creator ธนวัฒน์ กิจสุขสันต์
Contributor ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword กล้ามเนื้อ, การออกกำลังกายสำหรับสตรี, การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ, ทรวงอก, Muscles, Chest, Exercise for women, Exercise for older people
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การขยายตัวของทรวงอก สมรรถภาพปอดและ สุขสมรรถนะในหญิงสูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครหญิงสูงอายุ อายุระหว่าง 60-74 ปี จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบสุ่มลงใน 3 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ฝึกกล้ามเนื้อหายใจเพียงอย่างเดียว 14 คน กลุ่มที่ 2 ฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดเพียงอย่างเดียว 13 คน และกลุ่มที่ 3 ฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึก ออกกำลังกายด้วยยางยืด 13 คน ทำการฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้าด้วยอุปกรณ์ 20 นาที และฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด 20 นาที โดยฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังการทดลอง ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การขยายตัวของทรวงอก สมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะ นำผลจากก่อนและหลังการทดลองมาวิเคราะห์ความแตกต่างภายในกลุ่มโดยทดสอบ ค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ หญิงสูงอายุทุกกลุ่มมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าเพิ่มขึ้น แต่พบว่ากลุ่มที่ 3 มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การขยายตัวของทรวงอกพบว่า หญิงสูงอายุทุกกลุ่มมีการขยายตัวของทรวงอกเพิ่มขึ้น แต่พบว่า กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีการขยายตัวของทรวงอกสูงกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สมรรถภาพปอดพบว่า กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างจากกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับสุขสมรรถนะพบว่า กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างจากกลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มที่ 3 มีระยะทางการเดินภายใน 6 นาทีมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าในหญิงสูงอายุได้สูงกว่าการฝึกกล้ามเนื้อหายใจหรือการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้ายังมีผลต่อระยะทางที่เดินได้ภายใน 6 นาที
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ