ผลของธาตุผสมนิกเกิลและโคบอลต์ในโลหะผงเหล็กกล้าไร้สนิม 316L ต่อโครงสร้างจุลภาค ความแข็ง และความต้านทานการดัดโค้ง
รหัสดีโอไอ
Title ผลของธาตุผสมนิกเกิลและโคบอลต์ในโลหะผงเหล็กกล้าไร้สนิม 316L ต่อโครงสร้างจุลภาค ความแข็ง และความต้านทานการดัดโค้ง
Creator นันทวัน พิชัยวงศ์
Contributor ปัญญวัชร์ วังยาว, ณัฏฐิตา ชวนเกริกกุล
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword นิกเกิล, เหล็กกล้าไร้สนิม, โคบอลต์, ซินเทอริง, Nickel, Stainless steel, Cobalt, Sintering
Abstract งานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงเหล็กกล้าไร้สนิม 316L เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานและเพิ่มระยะเวลาในการใช้งานด้วยการเติมธาตุนิกเกิลและโคบอลต์ในปริมาณที่แตกต่างกันด้วยกรรมวิธีทางโลหะผง เพื่อศึกษาโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกล ได้แก่ ความต้านทานการดัดโค้ง และความแข็ง โดยผงที่ผสมแล้วจะถูกอัดแบบทิศทางเดียวด้วยการอัด 498 MPa แล้วเผาผนึกที่อุณหภูมิ 1,300 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ภายใต้บรรยากาศแบบไฮโดรเจน จากนั้นนำไปผ่านการให้ความร้อนที่ 800 และ 900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 25, 50, 75 และ 100 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่าชิ้นงานที่ผ่านการให้ความร้อนมีการเกิดและการโตของ Fe3O4 และ Cr2O3 ขึ้นในรูพรุนซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเค้นและความเครียดในเนื้อพื้นส่งผลให้เกิดเฟสแอลฟาไพร์มมาร์เทนไซต์ เมื่ออุณหภูมิและเวลาในการให้ความร้อนสูงขึ้นเฟสแอลฟาไพร์มมาร์เทนไซต์ยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งการเติมธาตุโคบอลต์และนิกเกิลสามารถช่วยลดการเกิดเฟสแอลฟาไพร์มมาร์เทนไซต์ได้ หลังจากมีการให้ความร้อนทุกสภาวะแก่ชิ้นงานทำให้เกิดเฟสแอลฟาไพร์มมาร์เทนไซต์และการลดลงของทั้งขนาดและปริมาณของรูพรุนอันเนื่องมาจากการโตของออกไซด์ ส่งผลให้ค่าความแข็งสูงขึ้น เนื่องจากชิ้นงานที่เติมธาตุโคบอลต์มีขนาดและปริมาณของพรุนต่ำสุดประกอบกับโคบอลต์ช่วยเพิ่มความแข็งตึง (stiffness) ของเนื้อพื้นจึงทำให้ชิ้นงานมีค่าความต้านการดัดโค้งสูงสุด อย่างไรก็ตามการให้ความร้อนเป็นเวลานานจะลดค่าความต้านทานการดัดโค้งจากการเชื่อมต่อของออกไซด์ในเนื้อพื้น
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ