![]() |
ภาวะที่เหมาะสมในการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเพื่อใช้กำจัดสีในโมลาส |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ภาวะที่เหมาะสมในการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเพื่อใช้กำจัดสีในโมลาส |
Creator | วัลยา วิศาลบรรณวิทย์ |
Contributor | ธราพงษ์ วิทิตศานต์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | คาร์บอนกัมมันต์, ทุเรียน, มังคุด, กากน้ำตาล, Carbon, Activated, Durian, Mangosteen, Molasses |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียน และเปลือกมังคุดโดยการกระตุ้นทางกายภาพแบบ 2 ขั้นตอน คือ การนำเปลือกทุเรียน และเปลือกมังคุดมาคาร์บอไนซ์ในเตาเผาให้ความร้อนสูง จากนั้นนำไปกระตุ้นโดยใช้ไอน้ำร้อนยิ่งยวดเป็นตัวกระตุ้นภายในเครื่องปฎิกรณ์เบดนิ่ง ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ เวลาในการคาร์บอไนซ์ และเวลาในการกระตุ้นใช้เวลาเดียวกัน คือ (30, 60, 90 และ 120 นาที) อุณหภูมิในการคาร์บอไนซ์ (350, 400, 450 และ 500 องศาเซลเซียส) และอุณหภูมิในการกระตุ้น (650, 700, 750 และ 800 องศาเซลเซียส) จากผลการทดลองพบว่า ภาวะที่เหมาะสมของการคาร์บอไนซ์เปลือกทุเรียน คือ อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที และภาวะที่เหมาะสมของการคาร์บอไนซ์เปลือกมังคุด คือ อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เวลา 60 นาที ถ่านชาร์จากเปลือกทุเรียน และเปลือกมังคุด มีสารระเหย เท่ากับ (22.84 และ 22.81 เปอร์เซ็นต์) คาร์บอนคงตัว (67.82 และ 69.03 เปอร์เซ็นต์) เถ้า (9.34และ 8.16) และผลที่ได้ เท่ากับ (35.46 และ 37.00 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ยังพบว่า ทั้งอุณหภูมิ และเวลาในการกระตุ้นมีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างรูพรุนของถ่านกัมมันต์ โดยภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการกระตุ้นถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียน คือ ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เวลา 60 นาที ส่วนเปลือกมังคุดได้ภาวะที่เหมาะสมที่สุด คือ ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เวลา 90 นาที จากภาวะที่เหมาะสมนี้ถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียน และถ่านกัมมันต์จากเปลือกมังคุด มีค่าการดูดซับไอโอดีนเท่ากับ (787.48 และ 824.57 มิลลิกรัมต่อกรัม) ค่าการดูดซับเมทธิลีนบลูเท่ากับ (237.16 และ 243.89 มิลลิกรัมต่อกรัม) มีค่าพื้นที่ผิวเท่ากับ (979.42 และ 992.71 ตารางเมตรต่อกรัม) และได้ค่าการกำจัดสีในโมลาสเท่ากับ (95.88 และ 98.60 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งผลการทดลองครั้งนี้ได้ค่าที่สูงกว่าถ่านกัมมันต์ทางการค้า |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |