การบำบัดน้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการอิเล็กโตรเฟนตัน
รหัสดีโอไอ
Title การบำบัดน้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการอิเล็กโตรเฟนตัน
Creator ณัฐินี แก้ววิเชียร
Contributor มะลิ หุ่นสม
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword น้ำเสีย -- การบำบัด, น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก, เชื้อเพลิงไบโอดีเซล, เคมีไฟฟ้า, Sewage -- Purification, Sewage -- Purification -- Heavy metals removal, Biodiesel fuels, Electrochemistry
Abstract งานวิจัยนี้ศึกษาผลของตัวแปรและภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียจากการผลิต ไบโอดีเซลโดยกระบวนการอิเล็กโตรเฟนตัน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ อัตราการป้อนอากาศ (0.5-2.5 ลิตรต่อนาที) ชนิดของขั้วแคโทด (แกรไฟต์ เหล็กกล้าไร้สนิม และไทเทเนียมเคลือบรูทิเนียมออกไซด์) ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน้ำเสีย (2-7) ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า (78-233 แอมแปร์ต่อตารางเมตร) และระยะเวลาในการบำบัด (15-180 นาที) พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสีย คือ การใช้แกรไฟต์เป็นขั้วแคโทด ค่าความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน้ำเสียเท่ากับ 4 ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 78 แอมแปร์ต่อตารางเมตร และอัตราการป้อนอากาศ 1.5 ลิตรต่อนาที พบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดค่าซีโอดี บีโอดี และปริมาณน้ำมัน-ไขมันเท่ากับร้อยละ 54.9 63.9 และ 85.9 ตามลำดับ โดยอัตราการลดลงของซีโอดี บีโอดี และน้ำมัน-ไขมันจะดำเนินตามปฏิกิริยาอันดับ 2 ส่วนการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาบำบัดซ้ำด้วยกระบวนการอิเล็กโตรเฟนตันจะทำให้น้ำมีสมบัติที่ดีขึ้น โดยค่าปริมาณน้ำมัน-ไขมันลดลงจาก 50,725 เหลือ 13.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อน้ำเสียผ่านการบำบัดครั้งที่ 9 ส่วนซีโอดีและบีโอดีมีค่าลดลง แต่ค่าเหล่านี้ยังสูงกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ