![]() |
ปัญหาและแนวทางการป้องกันปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธ บริเวณอ่าวเอเดนและน่านน้ำนอกชายฝั่งประเทศโซมาเลีย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ปัญหาและแนวทางการป้องกันปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธ บริเวณอ่าวเอเดนและน่านน้ำนอกชายฝั่งประเทศโซมาเลีย |
Creator | วัลย์ลดา ลิ่มศิลา |
Contributor | ชุมพร ปัจจุสานนท์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การกระทำอันเป็นโจรสลัด -- โซมาเลีย, การกระทำอันเป็นโจรสลัด -- การป้องกัน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, การกระทำอันเป็นโจรสลัด (กฎหมายระหว่างประเทศ), การจี้เรือ -- โซมาเลีย, การออกสู่ทะเล (กฎหมายระหว่างประเทศ), กฎหมายระหว่างประเทศ, กฎหมายทะเล, โซมาเลีย, อ่าวเอเดน, Piracy -- Somalia, Piracy -- Prevention -- Law and legislation, Piracy (International law), Hijacking of ships -- Somalia, Access to the sea (International law), International law, Law of the sea, Somalia, Aden, Gulf of |
Abstract | ปัญหาของการกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธบริเวณอ่าวเอเดน และน่านน้ำชายฝั่งประเทศโซมาเลีย เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลชั่วคราวโซมาเลียขาดเสถียรภาพในการบังคับใช้กฎหมายและกองกำลังทหารของโซมาเลียไม่สามารถที่จะป้องกันน่านน้ำของประเทศตนเองได้ ทำให้มีกองเรือจากต่างชาติที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากน่านน้ำของชายฝั่งประเทศ เป็นผลให้ชาวประมงชาวโซมาเลียนิยมทำการจี้ปล้นเรียกค่าไถ่กับเรือต่างชาติที่ผ่านเข้ามาบริเวณดังกล่าว ประกอบกับที่ตั้งของประเทศโซมาเลียมีชายฝั่งติดกับอ่าวเอเดนและมหาสมุทรอินเดียซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย ทำให้ผู้กระทำความผิดมีความสะดวกในการก่อเหตุและการหลบหนี หลักกฎหมายระหว่างประเทศได้ให้อำนาจทุกรัฐในการปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัดโดยให้รัฐใช้เขตอำนาจเหนือการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวตามหลักเขตอำนาจสากล อย่างไรก็ตามกฎหมายระหว่างที่เกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัดและหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอต่อการบังคับใช้กับสถานการณ์การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นบริเวณบริเวณอ่าวเอเดนและน่านน้ำนอกชายฝั่งประเทศโซมาเลีย ส่งผลให้การกระทำความผิดมีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นจนเป็นกลายเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพระหว่างประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอาศัยอำนาจตามหมวด7 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติในการออกข้อมติเพื่อเป็นการกำหนดมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับต่างๆเพื่อการแก้ไขปัญหาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวยังมีอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการกระทำของโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธที่เกิดขึ้นบริเวณอ่าวเอเดนและน่านน้ำนอกชายฝั่งโซมาเลีย |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |