นวัตกรรมการออกแบบและก่อสร้างบ้านลอยน้ำ
รหัสดีโอไอ
Title นวัตกรรมการออกแบบและก่อสร้างบ้านลอยน้ำ
Creator อภิชิต กมลสันติสุข
Contributor สุนทร บิญญาธิการ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การสร้างบ้าน, วิถีชีวิตแบบยั่งยืน, บ้านลอยน้ำ, ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง, บ้านบนน้ำ -- การออกแบบและการสร้าง, House construction, Sustainable living, Floating house, Dwellings -- Design and construction, Houseboats -- Design and construction
Abstract ในอดีตพื้นที่ลุ่มภาคกลางของประเทศไทยเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งน้ำไหลผ่านได้สะดวกในช่วงฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำท่วมจึงมีระดับเพียง 1.00 - 1.20 เมตร ดังนั้นบ้านไทยในอดีต จึงมีลักษณะยกใต้ถุนสูง 1.50-1.80 เมตร รวมถึงความสูงของคนไทยโดยเฉลี่ยไม่ถึง 1.80 เมตร จึงทำให้ความสูงของใต้ถุนบ้านทรงไทยสูงเพียงพอและเหมาะสมกันคนไทย เมื่อน้ำท่วม บ้านเรือนไทยก็ยังสามารถใช้งานได้ จากกรณีที่น้ำท่วม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา พบว่าน้ำท่วมสูงกว่า 1.50 - 1.80 เมตร จนบางพื้นที่ น้ำท่วมสูงถึง 3.00-4.00 เมตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ดังนั้นบ้านทรงไทยในอดีตจึงไม่ใช่คำตอบของการอยู่อาศัยในอนาคตของพื้นที่ ที่มีโอกาสประสบปัญหาน้ำท่วมอีกต่อไป การเกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้เป็นเพียงสัญญาณบอกถึงความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาตัวแปร การออกแบบบ้านลอยน้ำโดยระบบทุ่นที่มีเสถียรภาพการลอยที่ดี สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก ราคาไม่แพง กันความร้อน ความชื้นได้ดี และก่อสร้างรวดเร็ว ผนวกเทคโนโลยีผลิตพลังงานทดแทนจากธรรมชาติ ทำให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง เกิดรูปแบบการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน (sustainable living) 2. วิเคราะห์ คัดเลือกตัวแปรโดย ศึกษา เปรียบเทียบในด้านรูปทรง วัสดุ ราคา ระยะเวลา ขั้นตอนการก่อสร้าง การลดภาระการทำความเย็น และผนวกการใช้พลังงานทดแทน เพื่อนำมาเป็นข้อกำหนดในการออกแบบ นวัตกรรมบ้านลอยน้ำ 3.เพื่อก่อสร้างบ้านลอยน้ำ เพื่อทดสอบตัวแปร 4. ประเมิน และสรุปผลการวิจัย ผลที่ได้จากการวิจัย คือผลการศึกษาตัวแปร หลักการออกแบบและก่อสร้างบ้านลอยน้ำระบบทุ่นขนาด 25.2 ตารางเมตร ที่มีระยะจมฐานอาคารเท่ากับ 6.80 เซนติเมตร ระยะจุดศูนย์ถ่วงที่ 1.14 เมตร ขณะที่บ้านพักทั่วไปมีระยะจุดศูนย์ถ่วงที่ 1.50 เมตรกรณีความสูงอาคารเท่ากัน (3เมตร) สามารถรับน้ำหนักบรรทุกมากที่สุด 7 ตัน โดยรับน้ำหนัก 295 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร ซึ่งบ้านลอยน้ำนี้ มีราคาค่าวัสดุประมาณ 459,705 บาท ระยะเวลาการก่อสร้างไม่เกิน 7 วัน สามารถลอยน้ำและเคลื่อนที่ได้ในยามน้ำท่วม ประหยัดภาระในการทำความเย็นกว่าบ้านพักทั่วไป 14 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านทั่วไป และใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ขนาด 125 วัตต์ 6 แผง ในการผลิตไฟฟ้าให้กับตัวบ้านซึ่งไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบสาธารณูปโภคจากภายนอก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพิจารณาที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ในอนาคต
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ