![]() |
การบริหารจัดการพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกามโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การบริหารจัดการพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกามโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน |
Creator | ณัฐพงษ์ สายพวงแก้ว |
Contributor | ดุษฎี ทายตะคุ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เมืองโบราณ -- เชียงใหม่ -- เวียงกุมกาม -- การวางแผน, ผังเมือง -- เชียงใหม่ -- เวียงกุมกาม, การใช้ที่ดิน -- เชียงใหม่ -- เวียงกุมกาม -- การวางแผน, ผังเมือง -- การมีส่วนร่วมของประชาชน, เวียงกุมกาม (ไทย), Cities and towns, Ancient -- Chiang Mai -- Wiang Kum Kam (Thailand) -- Planning, City planning -- Chiang Mai -- Wiang Kum Kam (Thailand), Land use -- Chiang Mai -- Wiang Kum Kam (Thailand) -- Planning, City planning -- Citizen participation, Wiang Kum Kam (Thailand) |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกามของภาครัฐและภาคชุมชนในปัจจุบัน 2) วิเคราะห์บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกามในปัจจุบัน 3) สรุปปัญหาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกามและเสนอแนะแนวทางการบูรณการการบริหารจัดการในเขตพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกาม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีหน่วยวิเคราะห์เป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลทุติยภูมิเป็นเครื่องมือวิจัยหลักและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ผุ้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยใช้แบบสัมภาษณ์และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนจากการบริหารจัดการในเขตพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกาม โดยได้เริ่มมีขุดค้นพบโบราณสถานในปี พ.ศ. 2527-2532 และได้มีการกำหนดการบริหารจัดการในปี 2544 ตามนโยบายของภาครัฐทำให้เกิดการทำงานที่ไม่บูรณาการเนื่องจากแต่ละหน่วยงานก็อาจมีเป้าหมายในการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนยากต่อการเข้าถึงการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของชุมชนยังน้อยเนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการ ผลการศึกษาจากการนำข้อมูลที่ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคชุมชน ของการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมภายในเขตพื้นเมืองเก่าเวียงกุมกามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทำให้ทราบว่าการบริหารจัดการภายในพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกามนั้นมีความซับซ้อนเนื่องจากแต่ละหน่วยงานยังคงแยกส่วนความรับผิดชอบอีกทั้งยังไม่มีรูปแบบการบูรณาการที่สามารถเข้ามาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการได้ ในส่วนของโบราณสถานอยู่ในการกำกับดูแลของกรมศิลปากร ส่วนโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในกำกับดูแลของส่วนท้องถิ่นและอำเภอ การกำหนดนโยบายต่างๆ จะเป็นในส่วนของภาครัฐทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมบางตามโอกาสและกิจกรรมที่มีจัดขึ้นภายในพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกามการบริหารจัดการยังรอการถ่ายโอนไปสู่ในส่วนท้องถิ่นเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ในส่วนภาคประชาชนนั้นก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่มชมรมท้องถิ่นขึ้นแต่ก็ไม่ได้มีบทบาทมากนักเนื่องจากชุมชนเวียงกุมกามนั้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่และมีการทับซ้อนกันในหลายพื้นที่ชาวบ้านจึงเข้ามาร่วมกิจกรรมบางการมีส่วนร่วมจึงเกิดขึ้นเพียงแต่ประชาชนไม่ได้มีบทบาทในการบริหารจัดการเนื่องจากเวียงกุมกามขาดหน่วยงานกลางที่จะเป็นประธานทำให้การบริหารจัดการซับซ้อน การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการที่มีการบูรณาการการมีส่วนร่วมเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกาม ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและภาคชุมชน อีกทั้งยังกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักและหวงแหนต่อทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |