การเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกข้อสอบขั้นแรกและลำดับข้อสอบที่มีต่อคุณภาพของการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์
รหัสดีโอไอ
Title การเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกข้อสอบขั้นแรกและลำดับข้อสอบที่มีต่อคุณภาพของการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์
Creator ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Contributor ศิริเดช สุชีวะ, ศิริชัย กาญจนวาสี
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ข้อสอบ, การวัดผลทางการศึกษา, ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ, การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์
Abstract การทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์เป็นวิธีการที่ผสมผสานระหว่างทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ และการทดสอบแบบปรับเหมาะ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถของผู้สอบมากกว่า 1มิติ ผ่านการทดสอบเพียงครั้งเดียว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกข้อสอบขั้นแรก (Fisher information และ Kullback-leibler information) และลำดับข้อสอบ (จำแนกมิติ และผสมผสานมิติ) ที่มีต่อคุณภาพของการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์ รวมถึงศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 2 และ 2) เพื่อศึกษาผลประเมินโปรแกรมการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติ งานวิจัยนี้ศึกษาภายใต้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ 3 พารามิเตอร์ โดยพิจารณาคุณภาพของการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์ ด้วยค่าความเที่ยง ค่าระยะทางแบบยุคลิด สารสนเทศแบบสอบ และความยาวข้อสอบ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง คือ การจำลองข้อมูล ข้อมูลทุติยภูมิจากการสอบ PAT2 ของ สทศ. และข้อมูลปฐมภูมิจากการดำเนินการสอบจริงกับนักเรียนชั้น ม.5 โดยการจำลองข้อมูลศึกษา 2 มิติ ข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิศึกษา 3 มิติ ในวิชาชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1.วิธีการคัดเลือกข้อสอบขั้นแรกด้วยวิธี Kullback-Leibler information มีคุณภาพการทดสอบสูงกว่า วิธี Fisher information 2.ลำดับข้อสอบแบบผสมผสานมิติมีคุณภาพการทดสอบสูงกว่าลำดับข้อสอบแบบจำแนกมิติ 3. เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคัดเลือกข้อสอบขั้นแรกและลำดับข้อสอบที่ส่งผลต่อคุณภาพของการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติ โดยที่ วิธี Kullback-Leibler information แบบผสมผสานมิติ มีคุณภาพสูงสุด ในกรณีการทดสอบขั้นแรก 4. ผลประเมินการใช้โปรแกรมการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติ พบว่า ผู้สอบมีความพึงพอใจระดับมาก (M = 3.52, S.D. = 0.49)และพบว่า ภูมิหลังของผู้สอบ (เกรดเฉลี่ยสะสมและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์) ไม่ส่งผลต่อผลประเมินโปรแกรมการทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ