![]() |
พลวัตการปรับตัวของกลุ่มทุนภูเก็ต พ.ศ. 2515-2551 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | พลวัตการปรับตัวของกลุ่มทุนภูเก็ต พ.ศ. 2515-2551 |
Creator | หนึ่งหทัย อินทขันตี |
Contributor | นวลน้อย ตรีรัตน์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | นายทุน -- ไทย -- ภูเก็ต, ทุน (เศรษฐศาสตร์) -- ไทย -- ภูเก็ต, การลงทุน -- ไทย -- ภูเก็ต, ภูเก็ต -- ภาวะสังคม, ภูเก็ต -- ภาวะเศรษฐกิจ, Capitalists and financiers -- Thaialnd -- Phuket, Capital -- Thaialnd -- Phuket, Investments -- Thaialnd -- Phuket, Phuket -- Social conditions, Phuket -- Economic conditions |
Abstract | ศึกษาพลวัตการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มทุนท้องถิ่นภูเก็ตในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2515-2551 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการที่ใช้ในการปรับตัวของกลุ่มทุนภูเก็ต ภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของภูเก็ต จากที่เคยมีธุรกิจเหมืองแร่เป็นสาขานำไปเป็นการพึ่งพาธุรกิจบริการ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว นำไปสู่การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มทุนที่มีประสบการณ์ในกิจการท่องเที่ยวและมีเงินทุนสูง ทั้งกลุ่มทุนต่างชาติและกลุ่มทุนไทยจากส่วนกลาง รวมทั้งเพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกลุ่มทุน โดยใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากเอกสาร ข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท และการสัมภาษณ์เชิงลึกภายใต้กรอบแนวคิดค่าเช่าทางเศรษฐกิจและ Resource based view ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทุนภูเก็ตส่วนใหญ่ปรับตัวภายหลังธุรกิจเหมืองแร่ซบเซาลงด้วยการเข้าสู่กิจการอุตสาหกรรมเกษตร และการรับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีลักษณะผูกขาด ได้แก่ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ตัวแทนจำหน่ายเบียร์ กิจการเหล่านี้ยังคงเป็นกิจการที่มีส่วนสำคัญต่อการอยู่รอดของกลุ่มทุนท้องถิ่นมาถึงปัจจุบัน ท่ามกลางการแข่งขันในกิจการด้านการท่องเที่ยวและโรงแรมที่รุนแรงมากขึ้น กลุ่มทุนภูเก็ตแม้จะพยายามปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม แต่ยังไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่มทุนต่างถิ่นที่มีขนาดใหญ่ และมีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และมีความชำนาญเฉพาะในธุรกิจโรงแรมได้ แนวโน้มการปรับตัวของกลุ่มทุนภูเก็ตจึงเน้นการร่วมทุนกับทุนขนาดใหญ่มากขึ้น การจัดการรูปแบบใหม่ที่มีระบบชัดเจน ถูกนำมาประยุกต์กับรูปแบบการบริหารกิจการครอบครัวในแบบดั้งเดิม แทนการพึ่งพาปัจจัยที่ไม่เป็นทางการเช่นเครือข่ายความสัมพันธ์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายทางการเมืองซึ่งเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในอดีต ขณะเดียวกันการถือครองที่ดินซึ่งมีราคาสูงที่ได้รับตกทอดจากต้นตระกูล ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มทุนภูเก็ตไว้ในระดับหนึ่ง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |