การติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริตตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2008
รหัสดีโอไอ
Title การติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริตตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2008
Creator นิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ
Contributor จันตรี สินศุภฤกษ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การทุจริตและประพฤติมิชอบ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, ความร่วมมือระหว่างประเทศ, ทรัพย์สิน, กฎหมายระหว่างประเทศ, การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง
Abstract อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต เป็นเครื่องมือทางกฎหมายฉบับแรกที่ผูกพันให้รัฐภาคีต้องดำเนินการในการต่อต้านการทุจริต โดยได้รับการยอมรับ (adopted) ในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ General Assembly ที่ได้มีมติที่ 58/4 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ปัจจุบันมีรัฐภาคีทั้งสิ้นรวม 151 ประเทศ โดยอนุสัญญาฯ นี้มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมในการสร้างความเข้มแข็งของมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ การให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ การป้องกันการทุจริต การติดตามทรัพย์สินคืน การสร้างเสริมระบบคุณธรรม จริยธรรม การบริหารจัดการทรัพย์สินที่ดีของภาครัฐ ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 เรื่องการติดตามทรัพย์สินคืน คือ มาตรการในการริบทรัพย์สินระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหมวดที่มีความสำคัญที่สุดของอนุสัญญานี้เนื่องจากการทุจริตมักมุ่งประสงค์ที่ตัวทรัพย์ การลงโทษผู้กระทำความผิด เป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่การติดตามทรัพย์สินกลับคืนยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อนานาประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของประเทศไทยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องรองรับตามพันธกรณียังไม่เพียงพอ รวมถึงยังไม่มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติเท่าที่ควร ซึ่งในอนาคตควรมีการปรับปรุงแก้ไขให้สามารถดำเนินการป้องกันการยักย้าย ถ่ายเท ซุกซ่อน ทรัพย์สิน เพื่อการริบและติดตามทรัพย์สินกลับคืนทั้งในและต่างประเทศได้ดีกว่านี้
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ