ลักษณะการชำรุดและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมระบบปรับอากาศแบบรวม กรณีศึกษา อาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ
รหัสดีโอไอ
Title ลักษณะการชำรุดและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมระบบปรับอากาศแบบรวม กรณีศึกษา อาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ
Creator ภคิน เอกอธิคม
Contributor เสริชย์ โชติพานิช
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ธนาคารกสิกรไทย -- อาคาร, การปรับอากาศ -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม, เครื่องปรับอากาศ
Abstract ระบบปรับอากาศแบบรวมชนิดที่ใช้เป็นเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller) ซึ่งเป็นระบบประกอบอาคารหลักที่มีการติดตั้งในอาคารขนาดใหญ่จำนวนมากในประเทศไทย โดยที่ระบบปรับอากาศเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการทำงานในอาคาร และสภาพแวดล้อมในอาคาร เพื่อหลีกเลี่ยงการชำรุดที่อาจมีต่อการทำงานและผู้ใช้อาคาร ส่วนงานที่ทำหน้าที่บริหารทรัพยากรกายภาพควรมีข้อมูลสถิติการชำรุด และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมระบบฯ เพื่อใช้ในการคาดการณ์และวางแผนล่วงหน้า การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะศึกษาลักษณะการชำรุดของอุปกรณ์เครื่องจักร และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องจักรในระบบปรับอากาศแบบรวมที่เกิดช่วงเวลาต่างๆ รวมถึงแผนในการจัดเตรียมชิ้นส่วนทดแทนและงบประมาณการซ่อมแซม ซึ่งการศึกษานี้เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบตั้งแต่ส่วนประกอบ การบำรุงรักษา ผลจากการบำรุงรักษาซึ่งได้แก่ การชำรุดขัดข้อง ค่าซ่อมแซม เวลาที่ใช้ในการซ่อมแซม มาวิเคราะห์หาลักษณะที่เกิดขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของระบบในแต่ละช่วงเวลา จากการศึกษา ระบบปรับอากาศแบบรวมของอาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ราษฎร์บูรณะ ในช่วงการทำงานของระบบปีที่ 1-14 พบว่าระบบฯ มีแผนและการดูแลบำรุงรักษาทั้งจากช่างประจำอาคาร และช่างผู้เชี่ยวชาญภายนอกเป็นวงรอบชัดเจนอย่างต่อเนื่อง ผลจากการบำรุงรักษาระบบฯ ก็ยังคงมีการชำรุดขัดข้องตั้งแต่ปีแรกที่มีการใช้งาน ซึ่งต้องมีการซ่อมแซมแก้ไขหรือจัดเปลี่ยนชิ้นส่วนทดแทนเกิดเป็นค่าใช้จ่ายขึ้นในแต่ปี การศึกษานี้มีข้อค้นพบสำคัญ คือ ลักษณะการชำรุดที่เกิดขึ้นในมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเมื่อช่วงเวลาการใช้งานมากขึ้น โดยในช่วง 3-6 ปีแรกมีอัตราการชำรุดที่เพิ่มสูงกว่าในช่วงอื่น หลังจากนั้นการชำรุดเกิดขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกันในแต่ละปีจนกระทั่งเพิ่มขึ้นสูงสุดในปีที่ 13 เมื่อจำแนกเครื่องจักรในระบบฯ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. Chiller 2. Cooling Tower 3. Pump 4. Air Handling Unit การชำรุดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในส่วนของ Pump และ Air Handling Unit มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของค่าซ่อมแซมแต่ละปีมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาการใช้งานเช่นกัน ซึ่งมีปัจจัยมาจากจำนวนการชำรุดและค่าซ่อมแซมของอุปกรณ์เครื่องจักรแต่ละประเภทที่ไม่เท่ากัน โดยพบว่าถึงแม้ Cooling Tower จะมีจำนวนอุปกรณ์และจำนวนการชำรุดน้อย แต่ก็มีค่าจ่ายการซ่อมแซมที่สูงกว่าส่วนประกอบระบบฯ กลุ่มอื่น เนื่องจาก Cooling Tower มีการเสื่อมสภาพไม่สามารถซ่อมหรือใช้งานต่อไปได้ ต้องมีการเปลี่ยนทดแทนในปีที่ 11-12 จากการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ (Reliability) เมื่อมีการชำรุดเกิดขึ้นค่า Reliability มีการลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ในปีที่ 5 จนไม่มีความน่าเชื่อถือเลย แสดงให้เห็นว่าระบบฯ มีความเสี่ยงชำรุดขัดข้องขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งการเพิ่ม Reliability ให้กับระบบฯ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลการชำรุดขัดข้องหรือบันทึกประวัติของระบบฯ อย่างเป็นระบบเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์สภาพของระบบในปัจจุบัน ทำให้ทราบลักษณะของการชำรุดที่เกิดขึ้นและการจัดเตรียมงบประมาณสำหรับการซ่อมแซมและจัดเปลี่ยนชิ้นส่วนทดแทนในส่วนของ Power and Control ของ Chiller ในทุก 6 ปี การเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องสูบน้ำเย็นในทุก 8 ปี และการจัดเปลี่ยนเครื่องผึ่งลมเย็นใหม่ในปีที่11 ซึ่งนำไปสู่การวางแผนหรือเตรียมการที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความเป็นจริง
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ