![]() |
การสร้างตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การสร้างตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทย |
Creator | ฐปนีย์ วิชญธน |
Contributor | รุ่งนภา พิตรปรีชา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | อุตสาหกรรมพลังงาน -- ไทย, ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- ไทย |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทยและเพื่อค้นหาปัจจัยสะท้อนตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมและจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่มีการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 3 องค์กรในธุรกิจพลังงาน ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้า EGCO จำกัด โดยใช้ระเบียบวิจัย 2 แบบ คือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อค้นหาตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงาน และหาปัจจัยต่างๆซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีอิทธิพลต่อการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงาน โดยจะดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) สัมภาษณ์นักวิชาชีพและนักวิชาการและบุคลากรในองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทยมี 6 ปัจจัยหลักและมีตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคม 49 ตัวชี้วัด และผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าประชาชนทั่วไป และบุคลากรในธุรกิจพลังงาน ได้จัดลำดับความสำคัญปัจจัยหลักดังนี้ 1.ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ต่อกลุ่มเป้าหมายและสังคม 2. ปัจจัยด้านความพึงพอใจ ของผู้อยู่อาศัยในชุมชนบริเวณรอบบริษัท 3. ปัจจัยด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 5. ปัจจัยด้านการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 6.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจพลังงานในประเทศไทย พบว่ามี 7องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ตัวชี้วัดในด้านความเชื่อใจและการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์ประกอบที่ 2 ตัวชี้วัดในด้านความพึงพอใจของสื่อมวลชนและผู้นำทางความคิด องค์ประกอบที่ 3 ตัวชี้วัดในด้านการจัดการด้านงบประมาณและรายได้ องค์ประกอบที่ 4 ตัวชี้วัดในด้านเศรษฐกิจ องค์ประกอบที่ 5 ตัวชี้วัดในด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร องค์ประกอบที่ 6 ตัวชี้วัดในด้านความสัมพันธ์กับชุมชน องค์ประกอบที่ 7 ตัวชี้วัดในด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |