แนวทางการป้องกันอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบ กรณีศึกษา : โครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ และโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการป้องกันอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบ กรณีศึกษา : โครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ และโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่
Creator ชัยยงค์ ภูษณพิทักษ์
Contributor ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย -- ไทย -- นนทบุรี, การป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ, บ้านจัดสรร
Abstract จากสถานการณ์น้ำท่วม ในปี พ.ศ. 2554 ได้สร้างความเสียหายมากมายในหลายพื้นที่ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาท ส่วนทางด้านสังคม ประชาชนจำนวนหนึ่งเสียชีวิต ประชาชนที่อยู่บริเวณน้ำท่วมขัง ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบให้บ้านจัดสรรจำนวนมากมีความเสียหายรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท บ้านจัดสรรน้ำท่วม กว่า 5.4 แสนหน่วย เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของประชาชน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบ โดยการศึกษาสภาพอุทกภัยในพื้นที่ของโครงการจัดสรร แนวทางการป้องกันน้ำท่วมโครงการจัดสรรผลกระทบต่อผู้พักอาศัยในโครงการจัดสรร โดยใช้วิธีสัมภาษณ์วิศวกรโครงการ ผู้พักอาศัยภายในโครงการ การสังเกต จดบันทึกและถ่ายภาพ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีและการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการป้องอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบต่อไป จากการศึกษาสภาพอุทกภัยในพื้นที่ของโครงการจัดสรร โครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลอง 3 สาย ล้อมรอบโครงการ ช่วงน้ำท่วมน้ำในคลองลันตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ ระดับน้ำท่วมโดยรอบโครงการ สูง 1.00 ม. และการถมดินสูงจากระดับถนนหน้าโครงการ 0.50 ม. ส่วนโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่ ระดับที่ตั้งโครงการมีระดับ สูงกว่าโครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ มีแนวถนนบางรักใหญ่-บ้านใหม่ เป็นคันกั้นธรรมชาติ ระดับน้ำท่วมหน้าโครงการ สูง 0.55 ม. จากการศึกษาแนวทางการป้องกันน้ำท่วมโครงการจัดสรร โครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ เป็นโครงการที่อยู่ในช่วงส่งมอบพื้นที่ให้กับคณะนิติกรรมการหมู่บ้าน รั้วโครงการโดยรอบเป็นระบบเสา-คาน หล่อในที่ ผนังรั้วหินศิลาแลง มีน้ำไหลซึมผ่านหินศิลาแลง และใต้คานรั้วโครงการ ดินถมมีการทรุดตัวบางช่วงของพื้นที่มีน้ำท่วมขังสูง ระบบสาธารณูปโภคมีน้ำไหลซึมเข้าระบบ ทางด้านการบริหารจัดการมีความเข้าใจในด้านข้อมูลคลาดเคลื่อน ผู้พักอาศัยในโครงการมีการต่อเติมอาคารทำให้มีอุปสรรคในการป้องกันได้ยาก จากการศึกษาผลกระทบต่อผู้พักอาศัยในโครงการจัดสรรโครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน - รัตนาธิเบศร์ เป็นโครงการที่มีน้ำท่วมขังทั้งโครงการ จึงมีผลกระทบทางสถานภาพสังคม เศรษฐกิจ ผลกระทบต่อตัวอาคาร ผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผลกระทบต่องานระบบภายในบ้าน ทั้งก่อนเกิดน้ำท่วม ขณะเกิดน้ำท่วม และหลังเกิดน้ำท่วม มากกว่าโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่ แต่โครงการโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่ ถึงแม้ว่าภายในโครงการไม่มีน้ำท่วมขังแต่ก็มีผลกระทบต่อผู้พักอาศัย เนื่องจากในพื้นที่รอบโครงการมีระดับน้ำท่วมขังสูง การคมนาคมไม่สามารถสัญจรได้ ระบบไฟฟ้าทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีการตัดไฟ ก็ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ข้อเสนอแนะในแนวทางการป้องกันอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ ควรศึกษา 2 ด้าน คือมาตรการสิ่งก่อร้าง และมาตรการไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง ทั้ง 2 มาตรการมีส่วนสำคัญในการป้องกัน ในด้านก่อสร้าง รูปแบบรั้วโครงการ ระบบสาธารณูปโภคต้องเป็นระบบปิด ในด้านการจัดการ การให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา การประกันภัยบ้าน ส่วนในประเด็นที่น่าสนใจในการทำวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องของการออกแบบโครงสร้างที่ป้องกันโครงการอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ