การลดของเสียที่มีฝุ่นปนเปื้อนในกระบวนการผลิตกระจกวัตถุดิบในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
รหัสดีโอไอ
Title การลดของเสียที่มีฝุ่นปนเปื้อนในกระบวนการผลิตกระจกวัตถุดิบในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
Creator ปิติวัฒน์ อุดมลักษณ์
Contributor ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ของเสีย, ฝุ่น
Abstract ในงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนของเสียที่มีฝุ่นปนเปื้อนบนกระจกวัตถุดิบที่เป็นปัญหาหลักในกระบวนการผลิตกระจกวัตถุดิบในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยดำเนินการตามแนวทางของวงจรเดมมิ่ง นำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในขั้นตอนการวางแผน ทำการศึกษาข้อมูลของปัญหา เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของงานวิจัย โดยกราฟพาเรโตบ่งชี้ว่าของเสียที่มีฝุ่นปนเปื้อนกระจกวัตถุดิบเป็นของเสียหลัก ซึ่งมีสัดส่วนที่มากกว่าร้อยละ 90 ของของเสียทั้งหมด หรือร้อยละ 20 ของอัตราผลผลิตกระจกวัตถุดิบทั้งหมด เมื่อนำมาฝุ่นตัวอย่างจากของเสียมาวิเคราะห์ด้วยเครื่อง scanning electron microscope and energy-dispersive X-ray spectroscopy สามารถระบุว่าฝุ่นจากของเสียนั้นทั้งหมดเป็นเศษกระจกที่แตกออกมาปนเปื้อน ซึ่งหมายถึงการทำงานของระบบทำความสะอาดฝุ่นในเครื่องจักรไม่สามารถกำจัดฝุ่นได้ทั้งหมด วัดความสามารถของกระบวนการของระบบในการตรวจจับตำแหน่งของฝุ่นในเครื่องจักร สามารถยืนยันว่าเครื่องตรวจจับมีความถูกต้องและแม่นยำตามข้อกำหนด ใช้แผนผังก้างปลามาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีโอกาสเกิดปัญหาในเครื่องตัดและเครื่องแยกชิ้นและตรวจสอบกระจกวัตถุดิบ โดยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อของเสียที่มีฝุ่นปนเปื้อนมาจากปัจจัยที่ทำงานโดยตรงกับกระจกวัตถุดิบ ด้วยการออกแบบการทดลองแบบ 2-level full factorial design ซึ่งพบปัจจัยที่มีผลกระทบมากกับของเสียที่มีฝุ่นปนเปื้อนกระจกวัตถุดิบ ในเครื่องตัด 3 ปัจจัย ในเครื่องแยกชิ้นกระจกวัตถุดิบ 2 ปัจจัย และระบบทำความสะอาดและกำจัดฝุ่น 4 ปัจจัย ทำการติดตั้งค่าพารามิเตอร์ที่ใช้งานที่ได้หลังการทดลองกับเครื่องตัดและเครื่องแยกชิ้นและตรวจสอบกระจกวัตถุดิบ ซึ่งทำให้อัตราของของเสียที่มีฝุ่นปนเปื้อนกระจกวัตถุดิบลดลงเหลือ 10.95% ของอัตราผลผลิต หรือลดลงประมาณ 51.75% ของอัตราของของเสียที่มีฝุ่นปนเปื้อนก่อนทำการปรับปรุง
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ