การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการประกอบแผงวงจรกล่องแปลงสัญญาณภายนอกอาคาร
รหัสดีโอไอ
Title การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการประกอบแผงวงจรกล่องแปลงสัญญาณภายนอกอาคาร
Creator ปถมพล พิกุลทอง
Contributor ประมวล สุธีจารุวัฒน
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword วิศวกรรมการผลิต, การเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์, Production engineering, Industrial productivity, Printed circuits industry
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตในกระบวนการประกอบแผงวงจรกล่องแปลงสัญญาณภายนอกอาคารโดยมุ่งเน้นการลดรอบเวลาการผลิตในสถานีงานผ่านคลื่นน้ำตะกั่ว ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 9 ปัจจัย จากการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์ความไวและการออกแบบการทดลองเพื่อหาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมระหว่างปัจจัยพบว่า ปัจจัยหลักที่จะนำไปทำการปรับปรุงการผลิตคือ เวลารอคอยฟิกเจอร์ เวลาการผลิตตามธรรมชาติ เวลาการปรับตั้งพารามิเตอร์ ปัจจัยที่มีผลกระทบร่วมระหว่างปัจจัยคือ เวลารอคอยฟิกเจอร์กับปัจจัยเวลาการผลิตตามธรรมชาติ จากปัจจัยทั้งหมดนี้สามารถทำการปรับปรุงโดยทำการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ในเครื่องให้มีความเร็วสายพาน 60 เซนติเมตรต่อนาที ความเร็วหัวพ่นน้ำยาประสาน 40 เซนติเมตรต่อวินาที ความเร็วเครื่องจ่ายลม 80 เฮิรตซ์ เพื่อช่วยให้ชิ้นงานผ่านเครื่องคลื่นน้ำตะกั่วได้เร็วขึ้น ในการใช้ประโยชน์เครื่องคลื่นน้ำตะกั่วได้สูงสุดต้องทำการปรับปรุงโดยการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานเข้าเครื่องคลื่นน้ำตะกั่วจากเดิม 5 ชิ้นเป็น 12 ชิ้น และลดเวลาการปรับตั้งเครื่องให้น้อยลงด้วยการเพิ่มคอมพิวเตอร์ 1 ชุดที่สถานีงาน จากการปรับปรุงทั้ง 3 ปัจจัยนี้สามารถลดรอบเวลาการผลิตลงจาก 528.56 วินาทีต่อชิ้น เป็น 324.97 วินาทีต่อชิ้น หรือคิดเป็น 38.52% มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 143 ชิ้นต่อวัน เป็น 232 ชิ้นต่อวัน เพิ่มขึ้น 89 ชิ้นต่อวัน ทำให้สามารถผลิตแผงวงจรกล่องแปลงสัญญาณตามยอดคำสั่งซื้อของลูกค้าได้ โดยใช้เงินลงทุนในการปรับปรุงทั้งหมด 121,500 บาท ซึ่งผลการปรับปรุงคิดเป็นต้นทุนการผลิตที่ลดได้เท่ากับ 95,544.80 บาทต่อเดือน สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 1.27 เดือนเท่านั้น
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ