การประยุกต์ใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมเส้นใยเรยอนผสมกับเส้นใยนุ่นเพื่อเป็นวัสดุดูดซับน้ำมัน
รหัสดีโอไอ
Title การประยุกต์ใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมเส้นใยเรยอนผสมกับเส้นใยนุ่นเพื่อเป็นวัสดุดูดซับน้ำมัน
Creator จิรายุ มั่งสุวรรณ
Contributor สุธา ขาวเธียร
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์, อุตสาหกรรมเรยอน, การดูดซับ, Recycling (Waste, etc.), Rayon industry and trade, Adsorption
Abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตเส้นใยเรยอน โดยนำมาผสมกับเส้นใยนุ่นเป็นตัวกลางเพื่อเตรียมขึ้นเป็นตัวดูดซับ การศึกษานี้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของการผสมเส้นใยเรยอนต่อเส้นใยนุ่นจำนวน 6 อัตราส่วน ได้แก่ 1:0, 1:1, 1:2, 1:3, 1:4 และ 0:1 โดยน้ำหนัก และเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของของผสมหนืดวิสโคสออกเป็น 4 อัตราส่วน คือ อัตราส่วนระหว่างของผสมหนืดวิสโคสต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ 1:1, 1:2, 1:3 และ 1:4 โดยน้ำหนัก กำหนดอัตราส่วนของปริมาณของผสมหนืดวิสโคสต่อเส้นใยตัวกลาง คือ 10 : 1 โดยน้ำหนัก เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการดูดซับน้ำมัน โดยทำการทดสอบการดูดซับในน้ำมัน 3 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องรถยนต์ และน้ำมันเตา ซึ่งมีความแตกต่างกันในค่าความหนืดและความหนาแน่น โดยการทดสอบดูดซับน้ำมันจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา 15 นาที และ 24 ชั่วโมง โดยทดสอบตามวิธีการมาตรฐานการทดสอบความสามารถในการดูดซับน้ำมันสำหรับวัสดุดูดซับของสมาคมเพื่อการทดสอบวัสดุแห่งสหรัฐอเมริกา (ASTM: F726-99) ผลการทดลองพบว่า ตัวดูดซับที่เตรียมขึ้นจากของเสียนั้น เมื่อทดสอบดูดซับในน้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่อง และน้ำมันเตา ตัวดูดซับมีค่าความสามารถในการดูดซับน้ำมันเท่ากับ 0.32 ถึง 0.45, 0.32 ถึง 0.45 และ 0.80 ถึง 0.96 กรัมน้ำมันต่อกรัมตัวดูดซับ ตามลำดับ ซึ่งตัวดูดซับที่สามารถดูดซับได้มากที่สุดหลังจากดูดซับ 15 นาทีและ 24 ชั่วโมง คือ ตัวดูดซับที่มีอัตราส่วนเส้นใยเรยอนต่อเส้นใยนุ่นในอัตราส่วน 1:3 ซึ่งมีอัตราส่วนวิสโคสต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ในอัตราส่วน 1:4 โดยน้ำหนักผสมอยู่ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 125 และตัวดูดซับที่มีอัตราส่วนเส้นใยเรยอนต่อเส้นใยนุ่นในอัตราส่วน 1:1 ซึ่งมีอัตราส่วนวิสโคสต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ในอัตราส่วน 1:4 โดยน้ำหนักผสมอยู่ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 162 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ค่าความสามารถในการดูดซับน้ำมันของตัวดูดซับดังกล่าวนั้นมีค่าน้อยกว่าความสามารถในการดูดซับของวัสดุดูดซับสังเคราะห์ชนิดโพลีโพรพิลีนมาก จึงไม่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานและการนำกลับมาใช้ซ้ำ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ