แนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในเครือเดียวกัน
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในเครือเดียวกัน
Creator ธีระวุฒิ เต็มสิริวัฒนกุล
Contributor ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword บริษัท -- ภาษี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, บริษัทในเครือ -- ภาษี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, Corporations -- Taxation -- Law and legislation, Affiliated corporations -- Taxation -- Law and legislation
Abstract ศึกษาวิเคราะห์มาตรการการจัดเก็บภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในเครือเดียวกัน โดยเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศต่างๆ และสังเคราะห์เป็นมาตรการที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย เพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในเครือเดียวกันให้เกิดความเป็นธรรมและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย จากการศึกษาพบว่า มาตรการที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในเครือเดียวกันที่บัญญัติไว้ในกฎหมายของประเทศต่างๆ เป็นมาตรการที่คล้ายกัน คือการจัดเก็บภาษีโดยคำนึงถึงความเป็นกลุ่มนิติบุคคลในเครือเดียวกัน แต่แตกต่างกันด้วยวิธีการที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีมาตรการต่างๆ ดังกล่าว ได้แก่ มาตรการ Organschaft ของประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี ที่กำหนดให้โอนผลกำไรและผลขาดทุนไปยังบริษัทแม่ได้ มาตรการ Group contribution ของกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่กำหนดให้โอนผลกำไรระหว่างกันได้ มาตรการ Group relief ของประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษที่กำหนดให้โอนผลขาดทุนไปมาระหว่างกันได้ มาตรการ Tax consolidation ของประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและประเทศอื่นอีกหลายประเทศที่กำหนดให้นำเงินได้และค่าใช้จ่ายไปคำนวณรวมกับบริษัทแม่ โดยมาตรการแต่ละมาตรการต่างก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี มาตรการอันเป็นที่นิยมใช้เป็นต้นแบบเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีอากรของประเทศต่างๆ มากที่สุดคือ แนวความคิดมาตรการ Tax consolidation ซึ่งสอดคล้องกับหลักความเป็นธรรมและหลักความเป็นกลาง รวมถึงหลักความประหยัดอันเป็นหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีมากที่สุด สำหรับประเทศไทย มาตรการด้านภาษีที่ใช้ปฏิบัติกับกลุ่มนิติบุคคลในเครือเดียวกันมีอยู่เพียงเล็กน้อย เช่น การยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินปันผลระหว่างบริษัทในเครือ การหักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทในเครือเดียวกัน เป็นต้น ซึ่งยังไม่ได้รับการพัฒนาเทียบเท่ากับมาตรการของต่างประเทศ ดังนั้น หากคำนึงถึงหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี และการแข่งขันทางภาษีกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนแล้ว การกำหนดมาตรการ Tax consolidation ในกฎหมายไทยจึงเป็นเรื่องที่ดีและเป็นกฎหมายทัดเทียมกับนานาชาติ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ