การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัสดีโอไอ
Title การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Creator รณชิต พฤษกรรม
Contributor นันทรัตน์ เจริญกุล, อวยพร เรืองตระกูล
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การบริหารองค์ความรู้, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย, Knowledge management, Policy implementation, High schools -- Thailand
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประการสุดท้าย 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ด้านนโยบายการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวน 335 โรงเรียน ภายใต้ความดูแลของ 42 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ตัวแปรระดับโรงเรียน และตัวแปรระดับ สพม. ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 335 คน และครูผู้สอนที่อยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 637 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (Multivariate analysis of variance: MANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับด้วยโปรแกรม Mplus 5.21 และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่มสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งภาพรวม (X-bar = 3.16) และรายด้าน (X-bar อยู่ระหว่าง 3.10 ถึง 3.23) 2) ภูมิภาคที่ตั้งและขนาดของโรงเรียนที่แตกต่างกันส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยภาพรวมโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่กว่าจะมีระดับการปฏิบัติ ที่มากกว่าโรงเรียนที่มีขนาดเล็กกว่า และโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางมีการปฏิบัติมากที่สุด (X-bar = 3.48) ส่วนโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการปฏิบัติน้อยที่สุด (X-bar = 2.97) ชุดปัจจัยในระดับโรงเรียนและชุดปัจจัยระดับ สพม. สามารถทำนายหรืออธิบายการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาได้ 66.8% และ 90.8% ตามลำดับ โดยปัจจัยภายนอกองค์การที่สำคัญที่สุดในทั้งระดับโรงเรียนและระดับ สพม. คือ ด้านลักษณะและทรัพยากรนโยบาย และปัจจัยภายในองค์การที่สำคัญที่สุด คือ ด้านลักษณะผู้บริหารองค์การ 3) สำหรับแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียน มี 2 ประการ คือ 1) จัดตั้งสำนักงานการจัดการความรู้ภายในหน่วยงานทั้งในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน 2) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติและประเมินผลการอบรมจากชิ้นงานที่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะให้ สพม. และโรงเรียนปรับปรุงปัจจัยภายในองค์การให้เอื้อต่อการจัดการความรู้เพิ่มมากขึ้นในทุกด้าน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ