![]() |
การพัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ ตามกระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการ ในการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ ตามกระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการ ในการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน |
Creator | กอบสุข คงมนัส |
Contributor | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง, สุกรี รอดโพธิ์ทอง |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | คอมพิวเตอร์ช่วยการสอนแบบอัจฉริยะ, การให้คำปรึกษา, วิจัยปฏิบัติการ, Intelligent tutoring systems, Counseling, Operations research |
Abstract | พัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการในการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูประจำการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจสภาพและปัญหาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน จำนวน 312 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบประเมินตนเอง และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการในการให้คำปรึกษาเรื่อง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา 2) กลุ่มเป้าหมายคือ ครูประจำการที่ไม่สามารถให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 3) ทรัพยากรที่ใช้ในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ ได้แก่ 3.1) บุคลากร ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเรื่องการให้คำปรึกษาและการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน นักออกแบบการเรียนการสอนและนักเขียนโปรแกรม 3.2) ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ 4) เนื้อหา ได้แก่ 4.1) ปัญหาการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูประจำการ 4.2) กรณีศึกษาด้านการเรียนการสอนที่ต้องแก้ไขด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4.3) ความสามารถในการให้คำปรึกษา ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 4.4) ความรู้เรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 5) โครงสร้างของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา มี 5 ส่วน คือ 5.1) ส่วนความเชี่ยวชาญความรู้ เป็นฐานความรู้และกรณีศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและความสามารถในการให้คำปรึกษา 5.2) ส่วนกลยุทธ์การให้คำปรึกษา เป็นส่วนควบคุมการแสดงความรู้และกลยุทธ์การเรียนการสอนตามกระบวนการให้คำปรึกษา 5.3) ส่วนวินิจฉัย เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยการตอบสนองของครูผู้รับคำปรึกษา 5.4) ส่วนแบบจำลองผู้รับคำปรึกษา เป็นการจัดเก็บข้อมูลครูผู้รับคำปรึกษา แสดงระดับความรู้ปัจจุบัน และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของครูผู้รับคำปรึกษา และ 5.5) ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ เป็นส่วนควบคุมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้รับคำปรึกษากับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะองค์ประกอบที่ 2 กระบวนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา ได้แก่ 1) กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 2) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 3) กำหนดเนื้อหาการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4) กำหนดรูปแบบการนำเสนอตามกระบวนการให้คำปรึกษา 5 ขั้นตอน คือ 4.1) ขั้นระบุปัญหา เป็นขั้นยืนยันปัญหาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและปัญหาความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูผู้รับคำปรึกษา 4.2) ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหา เป็นขั้นที่บทเรียนช่วยสอนแบบอัจฉริยะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาให้ครูผู้รับคำปรึกษา 4.3) ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา เป็นขั้นครูผู้รับคำปรึกษาดำเนินการแก้ปัญหาหรือศึกษาเนื้อหา 4.4) ขั้นประเมินผลการให้คำปรึกษา เป็นขั้นประเมินผลการแก้ปัญหาของครูผู้รับคำปรึกษาและผลการให้คำปรึกษาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ 4.5) ขั้นยุติการให้คำปรึกษา 5) กำหนดผังงานการให้คำปรึกษา และ 6) กำหนดเส้นทางการเรียน องค์ประกอบที่ 3 ผลลัพธ์ของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา 2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอัจฉริยะตามกระบวนการให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของครูประจำการในการให้คำปรึกษาเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีคะแนนความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และคะแนนความรู้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |