![]() |
คุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | คุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Creator | ทรงศิริ คล้ายคลึง |
Contributor | ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เอสแอลอี, เอสแอลอี -- ผู้ป่วย, คุณภาพชีวิต, Systemic lupus erythematosus, Systemic lupus erythematosus -- Patients, Quality of life |
Abstract | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยศึกษาในวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี อายุตั้งแต่ 10-18 ปีบริบูรณ์ ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 101 คน ทำการศึกษาระหว่างธันวาคม 2554 ถึงมีนาคม 2555 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของวัยรุ่นโรคเอสแอลอี และบิดา–มารดา หรือผู้เลี้ยงดู และใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตเด็กโรคเอสแอลอี (QoLMEAL, Quality of Life Measure for Adolescent with Lupus) ซึ่งพัฒนามาจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิตเด็ก รุ่นที่ 4 (The Pediatric Quality of Life Inventory 4.0 PedsQL 4.0) เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของเด็กวัยรุ่น 8 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพทั่วไป, ด้านกิจวัตรประจำวัน, ด้านครอบครัว, ด้านการดูแลรักษาโรคเอสแอลอี, ด้านอารมณ์, ด้านสังคม, ด้านการเรียนและด้านการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ t-test, One-way ANOVA, และ Scheffeผลการวิจัยพบว่าวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอีจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 101 คน ส่วนใหญ่ มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 69.3 และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตพบว่า วัยรุ่นที่มีอายุน้อย เพิ่งเริ่มป่วยเป็นโรคเอสแอลอีหรือป่วยเป็นโรคเอสแอลอีมาน้อยกว่า 3 ปี และขณะนี้ไม่ได้เรียนหนังสือ มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ส่วนปัจจัยด้านครอบครัว พบว่า อายุมารดา, การศึกษาของบิดา/มารดา, และรายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุปผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ก็ยังพบวัยรุ่นที่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่ดีประมาณร้อยละ 23.8 ซึ่งมีประโยชน์สำหรับแพทย์ในการวางแผนการรักษาและดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดผลสูงสุดในการรักษา และปัจจัยด้านอายุ การศึกษา และระยะเวลาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่พบว่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมนั้น ควรได้รับการดูแลช่วยเหลือและเอาใจใส่เป็นพิเศษ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |