![]() |
การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับคดีทุรเวชปฏิบัติ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับคดีทุรเวชปฏิบัติ |
Creator | นิธิโรจน์ ประภารักษ์วรากูล |
Contributor | ปารีณา ศรีวนิชย์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ -- ไทย, บุคลากรทางการแพทย์ -- ทุเวชปฏิบัติ, แพทย์ -- ทุเวชปฏิบัติ, กฎหมายทางการแพทย์, Restorative justice -- Thailand, Medical personnel -- Malpractice, Physicians -- Malpractice, Medical laws and legislation -- Thailand |
Abstract | การดำเนินคดีอาญาต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแพทย์ตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแบบดั้งเดิมที่เน้นการแก้แค้นทดแทน (Retribution) และนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษทางอาญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงโทษจำคุก ได้สร้างผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างมาก แพทย์ในสถานพยาบาลต่างๆขาดความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ให้การรักษาผู้ป่วยเพราะความเกรงกลัวว่าหากมีความผิดพลาดในการรักษาผู้ป่วยหรือที่เรียกว่า “ทุรเวชปฏิบัติ (Medical Malpractice)” ตนเองอาจจะต้องถูกฟ้องเป็นคดีอาญาและถูกลงโทษจำคุกได้ แพทย์จึงไม่กล้าให้การรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงว่าการรักษาจะไม่ประสบผลสำเร็จและทำการส่งตัวผู้ป่วยรายนั้นไปรักษาต่อยังสถานพยาบาลแห่งอื่นๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้าลงกว่าเดิมและมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากอาการของโรคมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้กระบวนการยุติธรรมที่ให้ความสำคัญกับการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษโดยการชี้ขาดถูก-ผิดคดีเพียงอย่างเดียวยังได้ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขและยิ่งมีความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อการนำกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแบบดั้งเดิมไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับคดีอาญาที่เกิดจากการกระทำทุรเวชปฏิบัติ ในต่างประเทศจึงได้มีการนำเสนอแนวความคิดของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) เพื่อนำมาใช้กับคดีทุรเวชปฏิบัติ โดยหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ได้เสนอกระบวนการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายด้วยความรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายทางด้านทรัพย์สิน ทางร่างกายหรือทางด้านจิตใจ นอกจากนี้ยังส่งเสริมกระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษแต่เพียงอย่างเดียว กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในคดีทุรเวชปฏิบัติที่เกิดขึ้นตามหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จึงสามารถเยียวยาความเสียหายที่ผู้ป่วยได้รับจากทุรเวชปฏิบัติด้วยระยะเวลาอันรวดเร็วและฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยที่ได้สูญเสียไปอันเนื่องมาจากเหตุทุรเวชปฏิบัติที่เกิดขึ้นได้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |