![]() |
ผลของการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยกลวิธีสืบสอบ ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 5 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยกลวิธีสืบสอบ ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 5 |
Creator | ธราดล รานรินทร์ |
Contributor | วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, Social sciences -- Study and teaching (secondary), Inquiry-based learning, Critical thinking |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยกลวิธีสืบสอบ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองซึ่งใช้วิธีจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีสืบสอบ จำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งใช้วิธีจัดการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยกลวิธีสืบสอบ และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ ใช้เวลาในการทดลอง 16 คาบ รวม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า1)นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้ ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |