![]() |
ผลของโปรแกรมการจัดการอาการ ร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของโปรแกรมการจัดการอาการ ร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง |
Creator | กฤษณา พุทธวงค์ |
Contributor | จิราพร เกศพิชญวัฒนา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | สมาธิ -- การใช้รักษา, ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย, ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย -- สุขภาพและอนามัย, คุณภาพชีวิต, Meditation -- Therapeutic use, Lungs -- Diseases, Obstructive -- Patients, Lungs -- Diseases, Obstructive -- Patients -- Health and hygiene, Quality of life |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขุนตาล จังหวัดเชียงราย และจับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับความรุนแรงของโรค ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 36 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 ราย กลุ่มควบคุม 18 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ ประกอบด้วย กิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมรายกลุ่มจำนวน 6 ครั้ง และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินประสบการณ์เกี่ยวกับการรับรู้อาการ 2) การให้ความรู้ในการจัดการอาการ 3) การฝึกทักษะในการจัดการอาการ และ 4) การประเมินผลการจัดการอาการ เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบวัดการรับรู้การหายใจลำบาก และแบบบันทึกการปฏิบัติสมาธิที่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ แบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .90 และได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |