ศึกษาเปรียบเทียบผลของยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัมฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วย 40 มิลลิกรัม ฉีดทุก 12 ชั่วโมง ว่าสามารถเพิ่มค่าความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะอาหารได้เทียบเท่ากับผลของยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วยให้ต่อเนื่อง 8 มิลลิกรัมต่อชั่วโ
รหัสดีโอไอ
Title ศึกษาเปรียบเทียบผลของยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัมฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วย 40 มิลลิกรัม ฉีดทุก 12 ชั่วโมง ว่าสามารถเพิ่มค่าความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะอาหารได้เทียบเท่ากับผลของยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วยให้ต่อเนื่อง 8 มิลลิกรัมต่อชั่วโมง ได้หรือไม่ในคนไทย
Creator คณิตา ฉัตราโสภณ
Contributor สุเทพ กลชาญวิทย์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ -- การรักษาด้วยยา, การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
Abstract ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย: ภาวะเลือดออกทางเดินอาหารรักษาโดยการให้ยาลดกรด PPI พบว่าเชื้อชาติเอเชียมียีนที่ทำให้ยา PPI สลายได้ช้ากว่าทำให้ชาติเอเชียมีประสิทธิภาพของยามากกว่าชาติอื่นในขนาดยาที่เท่ากัน จึงเป็นที่มาว่าคนไทยที่เป็นเชื้อชาติเอเชียน่าจะต้องการปริมาณยา PPI ที่น้อยกว่าขนาดที่ใช้ปกติ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการให้ยา omeprazole (o-sid) 80 มิลลิกรัม ตามด้วย 40 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมง เทียบกับการให้ omeprazole (O-sid) 80 มิลลิกรัม ตามด้วยหยดต่อเนื่อง 8 มิลลิกรัมต่อชั่วโมงว่าสามารถเพิ่มค่า pH ในกระเพาะได้เทียบเท่ากันในประชากรไทย ระเบียบวิธีการวิจัย: อาสาสมัครสุขภาพแข็งแรงดี 8 รายได้เจาะเลือด Serum H. pylori และ CYP2C19 หลังจากนั้นจะได้ยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัมเข้าทางหลอดเลือดดำแล้วตามด้วยฉีด 40 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 48 ชั่วโมงต่อเนื่องโดยมีสายวัด pH monitoring ตลอดหลังจากนั้นให้มีช่วง wash out เป็นเวลา 2 อาทิตย์และมาให้ยาโอเมปราโซล 80 มิลลิกรัมเข้าทางหลอดเลือดดำแล้วตามด้วยหยดต่อเนื่อง 8 มิลลิกรัมต่อชั่วโมงเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยเก็บข้อมูลเป็นแบบต่อเนื่องดูในเรื่องค่าเฉลี่ย pH, เปอร์เซ็นต์ระยะเวลาที่ pH>4 และ pH>6 และผล acid break through ในแต่ละวิธีของการให้ยา และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกันว่าค่าเฉลี่ย และระยะเวลาที่สามารถทำให้ pH>6 มีความแตกต่างในแต่ละวิธีการให้หรือไม่ โดยดูร่วมกับผล serum H.pylori และ CYP2C19 ผลการวิจัย: พบว่าอาสาสมัครทั้งหมดที่เข้ารับการวิจัยมี CYP2C19 เป็นชนิด Extensive metabolizer และพบว่าค่าเฉลี่ย pH ในการให้ยาแบบ bolus น้อยกว่าการให้ยา continuous เฉพาะในวันแรกของการให้ยา (6.2±1 VS 7.1±0.6 (p<0.05)แต่mean pHรวม 48 ชั่วโมงไม่ต่างกันส่วนระยะเวลาที่สามารถทำให้ในกระเพาะ pH>6 สั้นกว่าในกลุ่ม bolus เมื่อเทียบกับcontinuousในวันแรก (66.2±22.7% VS 84.7±17.3%)(p<0.05) และรวม 48 ชั่วโมง (69.9±12.6% VS 83 ±13.8%,p<0.05) และพบว่าacid break through พบเฉพาะในการให้ยาแบบ bolusเท่านั้น สรุป: การให้ยาแบบbolus เมื่อเทียบกับการให้ยาแบบ continuous ใน 48 ชั่วโมง pH เฉลี่ยไม่แตกต่างกันแต่ถ้าดูในช่วง 24 ชั่วโมงแรกการให้ยาแบบ bolus จะมีค่าเฉลี่ยเป็นกรดมากกว่า และในกลุ่ม continuous สามารถจะควบคุมให้กระเพาะ pH>6 ได้คงที่จะยาวนานกว่ากลุ่ม bolus แต่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม bolus หรือ continuous ก็พบว่าสามารถควบคุมการหลั่งกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้แต่ในกลุ่ม extensive metabolizing CYP2C19 ดังนั้นการที่พบว่าคนเอเซียตอบสนองต่อการให้ยาลดกรดเป็นจากการที่มี poor metabolizer ต่อยา PPI มากกว่าคนต่างชาติ อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากการมี CYP2C19 ชนิดต่างๆ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ