การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์
รหัสดีโอไอ
Title การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์
Creator อภิญญา อินทรรัตน์
Contributor วรรณี แกมเกตุ, สุวิมล ว่องวาณิช
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword นักศึกษาพยาบาล, จรรยาบรรณพยาบาล, การพยาบาล -- แง่ศีลธรรมจรรยา, Nursing students, Nursing ethics, Nursing -- Moral and ethical aspects
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล โดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์ และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น ในด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และ 2) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น ขั้นตอนการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การรวบรวมเรื่องเล่า การจำแนกหมวดหมู่เรื่องเล่า และการสังเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลประจำการ จำนวน 24 คน และนักศึกษาพยาบาล จำนวน 40 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งมี 3 ขั้นตอนย่อยคือ 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบฯ และ 3) การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก จำนวน 56 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและด้านจริยธรรมทางการพยาบาล จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล และเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริก ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นการนำเสนอเรื่องเล่า ขั้นการรับรู้ประเด็นขัดแย้งเชิงจริยธรรม ขั้นการรวบรวมข้อมูลสำคัญ ขั้นการวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้ ขั้นการตัดสินใจร่วมกันและวางแผนการปฏิบัติ และขั้นการประเมินผลและสะท้อน 4) การกำหนดเนื้อหาการสอนด้วยวิธีการปรับเหมาะตามความเหมาะสม ระหว่างการกำหนดเนื้อหาและการเรียงลำดับเนื้อหา ตามพื้นความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน 5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และ 6) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นดังกล่าวมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนสอน ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 2. ผลการใช้รูปแบบฯ พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความคิดเห็นต่อการเรียนตามรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นว่า การเรียนตามรูปแบบฯ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ และศักดิ์ศรีของมนุษย์มากขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและในชีวิตประจำวัน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ