![]() |
การเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดิน ร่วมกับการใช้น้ำหนักและไทชิ ที่มีผลในการทรงตัวของผู้สูงอายุเพศหญิง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดิน ร่วมกับการใช้น้ำหนักและไทชิ ที่มีผลในการทรงตัวของผู้สูงอายุเพศหญิง |
Creator | อมรเทพ วันดี |
Contributor | ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ผู้สูงอายุ, ไท้เก๊กสำหรับผู้สูงอายุ, การเดิน, การฝึกน้ำหนัก, การทรงตัว, Older people, Tai chi for older people, Weight training, Walking, Equilibrium (Physiology) |
Abstract | พัฒนารูปแบบการออกกำลังกายในการทรงตัวของสูงอายุเพศหญิงด้วยการเดิน และทดสอบประสิทธิภาพของการออกกำลังกายด้วยการเดินที่พัฒนาขึ้นโดยการเปรียบเทียบกับ ท่ารำไทชิ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายสำหรับการทรงตัวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน รูปแบบการเดินที่พัฒนาขึ้นใหม่ 8 ท่า ประกอบด้วย ท่าเดินต่อเท้าไปข้างหน้า และถอยหลัง ท่าเดินเตะขา ท่าเดินบนปลายเท้า ท่าเดินบนส้นเท้า ท่าเดินไปข้างหน้า แล้วย่อตัวลง ท่าเดินบิดเท้าออกนอกลำตัว ท่าเดินบิดเท้าเข้าด้านในลำตัว เดินไปด้านข้าง วางเท้าตรง ซึ่งพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์กล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการเดินและการทรงตัว นำรูปแบบการเดิน 8 ท่าที่ได้พัฒนาขึ้นไปตรวจสอบค่าความตรงโดยการหาค่าดัชนีความตรงเชิงสอดคล้อง (IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.80 จากนั้นทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินแปดท่าที่มีต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง เมื่อเทียบกับการออกกำลังกายด้วยไทชิ กับกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 51 คน ออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก 26 คน และออกกำลังกายด้วยไทชิ 25 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มทำการทดลอง 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาที อบอุ่นร่างกาย 5 นาที คลายอุ่นร่างกาย 5 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มทำการทดสอบการทรงตัวด้วยวิธี Time Up and Go test และ Berg Balance Scale ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 และ 8 สัปดาห์ตามลำดับ วิเคราะห์สถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และใช้การทดสอบค่าทีในการหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก สามารถพัฒนากล้ามเนื้อในการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ การทรงตัวในขณะเคลื่อนที่ของกลุ่มออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนักดีขึ้น หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ แต่การออกกำลังกายด้วยไทชิไม่มีการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม หลังการทดลอง 8 สัปดาห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก สามารถพัฒนาการทรงตัวในขณะเคลื่อนที่ได้ดีกว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยไทชิ แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ในการทรงตัวขณะอยู่กับที่ การออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนัก มีการใช้กล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อการทรงตัวได้มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ และสามารถพัฒนาการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ได้มากกว่าการออกกำลังกายด้วยไทชิ ในขณะที่การออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนักมีการพัฒนาการทรงตัว ในขณะอยู่กับที่ได้เท่ากับการออกกำลังกายด้วยไทชิ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |