![]() |
การพัฒนาแบบวัดความตระหนักต่อโลกของนักเรียนมัธยมศึกษา : การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามตัวแปรเพศ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาแบบวัดความตระหนักต่อโลกของนักเรียนมัธยมศึกษา : การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามตัวแปรเพศ |
Creator | พรรณวดี ยืนยงค์นาน |
Contributor | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ความตระหนัก -- การวัด, นักเรียนมัธยมศึกษา, การวิเคราะห์ความแปรปรวน |
Abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของความตระหนักต่อโลก (2) เพื่อพัฒนาแบบวัดความตระหนักต่อโลก (3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความตระหนักต่อโลก และ (4) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดความตระหนักต่อโลกตามตัวแปรเพศ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,436 คน เป็นชาย 637 คนและหญิง 799 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบวัดความตระหนักต่อโลก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัด ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความตระหนักต่อโลกประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความตระหนักในมุมมองที่แตกต่าง ความตระหนักในสภาพปัจจุบันของโลก ความตระหนักในความแตกต่างของวัฒนธรรม ความรู้ในเรื่องพลวัตของโลก และความตระหนักต่อทางเลือกของมนุษย์ 2. แบบวัดความตระหนักต่อโลกครอบคลุม 5 องค์ประกอบ และมีรายการวัด 2 แบบ คือ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 51 ข้อ และแบบสอบแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือกจำนวน 4 ข้อ 3. แบบวัดมีความตรงตามเนื้อหาโดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 มีความตรงตามโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และมีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.89 4. โมเดลการวัดของแบบวัดความตระหนักต่อโลกระหว่างกลุ่มนักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล มีความไม่แปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์สัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรสังเกตได้บนตัวแปรแฝงภายนอก (Λₓ) (χ²= 6.35 , df = 6 , p = 0.39 , χ²/df = 1.06 , RMR = 0.01 , RMSEA = 0.01 , GFI = 1.00 , CFI = 1.00 , RFI = 0.99 และ NFI = 1.00) ดังนั้นแบบวัดความตระหนักต่อโลกที่พัฒนาขึ้นจึงมีความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดระหว่างเพศของนักเรียน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |