การส่งผ่านและการกระจายคลื่นของโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำแบบหินทิ้งพร้อมด้วยรูปแบบกระแสน้ำ
รหัสดีโอไอ
Title การส่งผ่านและการกระจายคลื่นของโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำแบบหินทิ้งพร้อมด้วยรูปแบบกระแสน้ำ
Creator สุวีร์ ศรียี่สุ่น
Contributor อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword กลศาสตร์คลื่น, การป้องกันชายฝั่ง (ชลศาสตร์), การกัดเซาะ (วิศวกรรมชลศาสตร์), Wave mechanics, Shore protection, Scour ‪(Hydraulic engineering)‬
Abstract ปัจจุบันการออกแบบงานป้องกันชายฝั่งทะเล มีความจำเป็นต้องพิจารณาและตระหนักถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงเริ่มมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำแบบหินทิ้ง จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา การศึกษาการส่งผ่านคลื่น (wave transmission) รวมกับการกระจาย (wave diffraction) หลังโครงสร้างยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของการส่งผ่านคลื่น รวมกับผลของการกระจายคลื่น ของการถ่ายทอดพลังงานเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านโครงสร้าง ในการศึกษานี้ใช้แบบจำลองกายภาพ ภายใต้เงื่อนไขคลื่นสม่ำเสมอ (regular wave) โดยพิจารณาถึงตัวแปรสภาพคลื่นและโครงสร้าง อันได้แก่ ความชันคลื่น และความสูงโครงสร้าง ผลการศึกษาพฤติกรรมการส่งผ่านของคลื่น ค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านของคลื่นรวม (wave global transmission coefficient, Kgt) มีความสัมพันธ์กับความลึกน้ำสัมพัทธ์ (relative water depth, d/hs) ความชันคลื่น (wave steepness, H/L) และความสูงคลื่นสัมพัทธ์ (relative wave height, Rc/Hi) โดยการลดลงของความลึกน้ำสัมพัทธ์เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการลดลงของการส่งผ่านของคลื่น ความชันคลื่นน้อยเคลื่อนที่ผ่านโครงสร้างได้ง่ายกว่าความชันคลื่นมาก ซึ่งความชันคลื่นมากจะมีแตกตัวของคลื่นบนสันโครงสร้างที่มากกว่า ทำให้สูญเสียพลังงานของคลื่นมากขึ้น นอกจากนี้จากการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านของคลื่นรวมจากแบบจำลอง 3 มิติ ให้ค่ามากกว่าแบบจำลอง 2 มิติ อันกล่าวได้ว่าการกระจายของคลื่นมีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านของคลื่นรวมจากแบบจำลอง 3 มิติเป็นอย่างมาก รูปแบบการหมุนวนของกระแสน้ำบริเวณหลังเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ มีพฤติกรรมแตกต่างกับเขื่อนกันคลื่นพ้นน้ำ เนื่องจากผลของความลาดชันของความสูงคลื่น (wave height gradient) โดยเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำมีรูปแบบการหมุนวนของกระแสน้ำจากพื้นที่อับคลื่น (shadow area) ออกนอกขอบเขตที่ไม่ได้ปกป้อง (non-protect region) และตรงข้ามกับเขื่อนกันคลื่นพ้นน้ำ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ