![]() |
โปรแกรมการพยาบาลเพื่อจัดการความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่ : การวิเคราะห์อภิมาน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | โปรแกรมการพยาบาลเพื่อจัดการความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่ : การวิเคราะห์อภิมาน |
Creator | กิ่งกาญจน์ อาจเดช |
Contributor | ชนกพร จิตปัญญา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล, ความล้า -- การรักษา, Cancer -- Patients -- Care, Fatigue -- Treatment |
Abstract | การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่ออธิบายคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับโปรแกรมการจัดการความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยผู้ใหญ่ 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลด้วยโปรแกรมการต่างๆต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยผู้ใหญ่ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลด้วยโปรแกรมต่างๆต่อผลลัพธ์ความเหนื่อยล้าในแต่ละด้านในผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยผู้ใหญ่ โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์ในประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2543- 2553 และรายงานวิจัยระหว่าง ค.ศ. 2000-2010 จำนวน 30 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา การหาความเที่ยง และนำข้อมูลไปหาค่าขนาดอิทธิพลตามแนวทางของ Borensteien และคณะ (2009) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 135 ค่าผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในประเทศส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (100%) สถาบันที่ทำวิจัยมากที่สุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (54.5%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยอยู่ในระดับดีมาก (83.5%) ต่างประเทศรายงานที่นำมาสังเคราะห์เป็นรายงานวิจัย (100%) ในสาขาการพยาบาล (36.8%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยอยู่ในระดับดี (80%) โปรแกรมการจัดการความเหนื่อยล้าที่ศึกษามากที่สุดคือ ลักษณะของกิจกรรมการออกกำลังกาย (50%) ลองลงมาคือลักษณะกิจกรรมการให้ข้อมูลความรู้ (28.6%) 2. ค่าขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลด้วยโปรแกรมแพทย์ทางเลือกได้แก่ การนวดกดจุดสะท้อนมีผลลัพธ์ในด้านความเหนื่อยล้าโดยรวมมีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด (d = 6.27) รองลงมาคือโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อมีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ย (d = 2.85) 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าขนาดอิทธิพล ได้แก่ ด้านเนื้อหาสาระที่มีความ สัมพันธ์กับค่าขนาดอิทธิพล ได้แก่ตัวแปรชนิดของกิจกรรม เวลาปฏิบัติกิจกรรมต่อครั้ง(นาที) จำนวนครั้งในการปฏิบัติ/วัน จำนวนวันที่ปฏิบัติ/สัปดาห์ ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทดลอง มะเร็งเต้านม มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศหญิง มะเร็งปอด ชนิดของยาเคมีบำบัด จำนวนครั้งที่ได้รับเคมีบำบัด การบำบัดรักษา และขนาดกลุ่มตัวอย่างรวม แหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ ประเภทเครื่องมือที่วัดตัวแปรตาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |