ผลของจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
รหัสดีโอไอ
Title ผลของจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อผลสัมฤทธิทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
Creator พิชาติ แก้วพวง
Contributor วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword สังคมศึกษา, สังคมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, Social sciences -- Study and teaching (Secondary), Academic achievement, Critical thinking
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนปากเกร็ด จำนวน 103 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 52 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขา และ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินการใช้ชีวิตแบบพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามหลักไตรสิกขามีการใช้ชีวิต แบบพอเพียงสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ