ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้จากการบูรณาการอีเลิร์นนิ่งในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสดีโอไอ
Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้จากการบูรณาการอีเลิร์นนิ่งในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Creator ภัทรพร อุณหเศรษฐ์
Contributor ใจทิพย์ ณ สงขลา
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา, การเรียนการสอนผ่านเว็บ, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, Chulalongkorn University -- Students, Web-based instruction, Inquiry-based learning
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความใฝ่รู้ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความใฝ่รู้กับตัวแปรในด้านบทบาทผู้สอน คุณลักษณะผู้เรียน การสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัย โครงสร้างพื้นฐาน คุณลักษณะระบบบริหารจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน ลักษณะของสื่ออีเลิร์นนิ่ง และการประเมิน (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้จากการบูรณาการอีเลิร์นนิ่งในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้คือ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จากทั้งหมด 18 คณะ 1 สำนักวิชา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีการบูรณาการระบบบริหารจัดการเรียนรู้ในการเรียน ปีการศึกษา 2553 จำนวน 540 คน การเก็บข้อมูลเป็นการเก็บแบบลูกโซ่และแบบโดยบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรจำนวน 54 ตัวแปร จากปัจจัยทั้ง 8 ด้าน คือ ปัจจัยด้านบทบาทผู้สอน ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้เรียน ปัจจัยด้านการสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัย ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยด้านคุณลักษณะระบบบริหารจัดการเรียนรู้ ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยด้านลักษณะของสื่ออีเลิร์นนิ่ง และปัจจัยด้านการประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีการบูรณาการอีเลิร์นนิ่งในการเรียนมีความใฝ่รู้อยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กับความใฝ่รู้ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจำนวน 29 ตัวแปร โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน การสอนการคิดวิเคราะห์ และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น มีตัวแปรที่สามารถอธิบายปัจจัยจากการบูรณาการ อีเลิร์นนิ่งที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 7 ตัวแปร ดังนี้ คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การทำกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้เรียนแบบพบหน้า การสอนการคิดวิเคราะห์ เว็บไซต์ที่เสริมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียน การให้ศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากหนังสือตำรา การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบอัตนัย (เติมคำและบรรยาย) และการศึกษาเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ โดยตัวแปรที่พบในแต่ละขั้นสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความใฝ่รู้ได้เท่ากับ 21.3%
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ