การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพิพิธภัณฑ์ดนตรี
รหัสดีโอไอ
Title การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพิพิธภัณฑ์ดนตรี
Creator จิรัฏฐา จารุพิสิฐธร
Contributor เกียรติวรรณ อมาตยกุล
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การศึกษาต่อเนื่อง, พิพิธภัณฑ์ดนตรี, Continuing education, Music museums
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพิพิธภัณฑ์ดนตรี และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพิพิธภัณฑ์ดนตรี ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพิพิธภัณฑ์ดนตรี จำนวน 3 แห่ง และได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาตลอดชีวิต การจัดการพิพิธภัณฑ์ และดนตรี จำนวน 12 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจำนวน 3 รอบ แล้วนำมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐาน และค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วนำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พิพิธภัณฑ์ดนตรีในปัจจุบันมีการดำเนินงานตามจุดมุ่งหมาย ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ดนตรีที่ได้รับการยอมรับ และมีความต้องการในการพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 2.แนวทางในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพิพิธภัณฑ์ดนตรี ด้านจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ เป็นแหล่งรวบรวมเครื่องดนตรี และหลักฐานทางดนตรี ส่งเสริมการศึกษา เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เผยแพร่องค์ความรู้ด้านดนตรี และเป็นห้องเรียนตลอดชีวิตของทุกคน ด้านการบริหารจัดการ มีความชัดเจน และพัฒนาคนไปด้วย คือ มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปเรียนในด้านวิชาที่เกี่ยวข้อง บุคลากรต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ และพัฒนาตนเอง พิพิธภัณฑ์ดนตรีจะต้องมีการวางแผนการตลาดเชิงรุก ภัณฑารักษ์ที่ทำงานควรมีความรู้เรื่องดนตรี ควรมีผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา ในการทำงานร่วมกัน และควรมีการจัดตั้งกองทุนในการจัดหางบประมาณ ด้านการจัดกิจกรรม กิจกรรมที่จัดขึ้นควรประกอบด้วย นิทรรศการที่หลากหลาย มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้อิสระในการตั้งคำถาม ตีความ และเรียนรู้ มีการจัดสรรลานกิจกรรมเอนกประสงค์ใช้เป็นพื้นที่ทางการศึกษา มีพื้นที่สำหรับผู้ชมในการสืบค้น ค้นคว้า เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วม มีการแสดงดนตรีสด และ ผสมผสานทั้งการจัดแสดงด้านวัตถุ การจัดแสดงเนื้อหา กิจกรรม และนิทรรศการหมุนเวียน ด้านการประเมินผล การประเมินผลรายบุคคล โดยไม่ทำลายสุนทรีย์ในการชมพิพิธภัณฑ์ดนตรี มีหลายรูปแบบ และใช้วิธีการสังเกตในการประเมินความพึงพอใจ ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สร้างเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์ดนตรี และกลุ่มศิลปวัฒนธรรมการแสดง เป็นการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ความรู้ และเครื่องดนตรี สร้างเครือข่ายไปยังต่างประเทศ และ ร่วมกับกลุ่มนักดนตรีอิสระ ศิลปิน และนักสะสม
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ