![]() |
การปรับปรุงกระบวนการรับรองชิ้นส่วนการผลิต : กรณีศึกษา ส่วนประกอบของแผงคอนโซลหน้า |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การปรับปรุงกระบวนการรับรองชิ้นส่วนการผลิต : กรณีศึกษา ส่วนประกอบของแผงคอนโซลหน้า |
Creator | สมยศ กาญจนจิตกร |
Contributor | ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | รถยนต์ -- ชิ้นส่วน, อุตสาหกรรมรถยนต์, การควบคุมคุณภาพ, Automobiles -- Parts, Automobile industry and trade, Quality control |
Abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการรับรองชิ้นส่วนการผลิตสำหรับ ชิ้นส่วนยานยนต์ที่จัดซื้อจากผู้ส่งมอบ โดยพบว่าชิ้นส่วนจากผู้ส่งมอบในปัจจุบันมีข้อบกพร่องด้านคุณภาพเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก หลังจากที่ได้ผ่านการอนุมัติตามกระบวนการรับรองชิ้นส่วนการผลิตของผู้ประกอบการไปแล้ว ดังนั้นจึงได้ศึกษาถึงข้อบกพร่องจากการรับรองชิ้นส่วนในปัจจุบันตามขั้นตอนของการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า และพบว่ายังมีข้อบกพร่องในขั้นตอนต่างๆ คือ การวางแผนและกำหนดโปรแกรม, การออกแบบและพัฒนากระบวนการ, การรับรองผลิตภัณฑ์และกระบวนการ, การจัดเตรียมเพื่อการผลิต, การป้อนกลับ การประเมินและการแก้ไข จากนั้นจึงได้หาสาเหตุและปรับปรุงข้อบกพร่องในแต่ละกระบวนการดังกล่าว โดยการประยุกต์ใช้ Core tool ในระบบ ISO/TS16949 เช่น การวิเคราะห์ระบบการวัด(MSA),การวิเคราะห์ ลักษณะผลกระทบและข้อบกพร่อง(FMEA) เป็นต้น และได้นำข้อกำหนดต่างๆที่ปรับปรุงเหล่านี้มาจัดทำเป็นคู่มือคุณภาพของผู้ส่งมอบเพื่อใช้ในการเสนออนุมัติรับรองชิ้นส่วน จากนั้นผู้วิจัยได้นำเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆที่ปรับปรุงดังกล่าวไปทดลองใช้กับผู้ผลิตส่วน ประกอบของแผงคอนโซลหน้าพบว่าข้อบกพร่องด้านคุณภาพจากผู้ส่งมอบรายดังกล่าว มีแนวโน้มลดลงโดยก่อนปรับปรุงตั้งแต่ม.ค.- ธ.ค. 2553 มีจำนวนชิ้นส่วนบกพร่องเฉลี่ย 22.23 PPM เทียบกับในช่วงหลังปรับปรุงตั้งแต่เดือนเม.ย.–ก.ค.2554 มีจำนวนชิ้นส่วนบกพร่องเฉลี่ย 14.25 PPM (คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลง 35.90 %) อีกทั้งทำให้เกิดผลดีอื่นๆ คือ ทำให้การดำเนินการตามแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด, มีจุดควบคุมพิเศษของชิ้นส่วนไว้สำหรับเฝ้าระวังปัญหาในกระบวนการ, มิติขนาดของชิ้นงานมีการควบคุมอย่างต่อเนื่อง, การเตรียมความพร้อมของกระบวนการก่อนการอนุมัติให้ผลิตผ่านตามเกณฑ์การตรวจประเมิน ,มาตร การที่แนะนำใน FMEA ได้รับการทบทวน , การตรวจสอบของเสียประเภทคุณลักษณะได้รับการวิเคราะห์ระบบการวัดและเป็นไปตามข้อกำหนด, มีการจัดทำฉลากชิ้นงานใหม่ที่เป็นมาตรฐานและมาตรการแนะนำในแผนควบคุมได้รับการทบทวน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |