![]() |
ผลของตัวแปรดำเนินการต่อการปล่อยแก๊สระหว่างการเผาไหม้ร่วมของถ่านหินและชีวมวลในหม้อกำเนิดไอน้ำฟลูอิไดซ์เบสแบบหมุนเวียน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของตัวแปรดำเนินการต่อการปล่อยแก๊สระหว่างการเผาไหม้ร่วมของถ่านหินและชีวมวลในหม้อกำเนิดไอน้ำฟลูอิไดซ์เบสแบบหมุนเวียน |
Creator | ชัยณรงค์ หาญชนะ |
Contributor | เลอสรวง เมฆสุต, ประพันธ์ คูชลธารา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เชื้อเพลิง, พลังงานชีวมวล, การเผาไหม้, ถ่านหิน -- การเผาไหม้, ชีวมวล -- การเผาไหม้, ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน, Fuel, Biomass energy, Combustion, Coal -- Biomass, Biomass -- Biomass |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของตัวแปรดำเนินการต่อการปล่อยฟลูแก๊ส จากการเผาไหม้ร่วม ของถ่านหินและชีวมวลในหม้อกำเนิดไอน้ำฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน โดยใช้ถ่านหินซับบิทู มินัสและชีวมวลชนิดต่างๆ ได้แก่ กะลาปาล์ม กะลามะพร้าว กระถินยักษ์ และยูคาลิปตัส ป้อน เชื้อเพลิงที่อัตราคงที่ 7 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ป้อนอากาศปฐมภูมิอัตราคงที่ 300 ลิตรต่อนาที จากนั้นทำการสร้างเครื่องผลิตไอน้ำ ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนอุ่นน้ำ ส่วน แลกเปลี่ยนความร้อน และส่วนเก็บไอน้ำ ตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ สัดส่วนของชีวมวลกับถ่าน หิน ตำแหน่งการป้อนอากาศทุติยภูมิ และประสิทธิภาพของเครื่องผลิตไอน้ำ จากผลการ ทดลองพบว่า การเผาไหม้ของถ่านหินกับกะลาปาล์มจะให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดความสูง ของไรเซอร์สูงกว่าการเผาไหม้ของถ่านหินกับกะลามะพร้าว กระถินยักษ์ และยูคาลิปตัส ซึ่ง สอดคล้องกับค่าพลังงานความร้อนของกะลาปาล์ม การเพิ่มสัดส่วนส่วนของชีวมวลจะส่งผลให้ ความเข้มข้นของ (NOx) มีปริมาณลดลง ในส่วนการเผาไหม้เชื้อเพลิงผสมชีวมวล การป้อน อากาศทุติยภูมิ ที่ตำแหน่ง 1 เมตร จะมีอัตราการปล่อยแก๊สไนโตรเจนออกไซด์มากที่สุด สำหรับเครื่องผลิตไอน้ำ สามารถผลิตไอน้ำอุณหภูมิได้สูงสุดเท่ากับ 160 องศาเซลเซียส และ ความดันเท่ากับ 2.6 บาร์ เมื่อใช้เชื้อเพลิงถ่านหินร้อยละ 100 ในการเผาไหม้ และอุณหภูมิไอน้ำ ผลิตได้สูงสุดเท่ากับ 145 องศาเซลเซียส และความดันเท่ากับ 2.3 บาร์ เมื่อใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ต่อกะลาปาล์ม ที่สัดส่วน 70:30 ในการเผาไหม้ ประสิทธิภาพเครื่องผลิตไอน้ำที่ได้เท่ากับร้อย ละ 22.44 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |