การกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้าย ด้วยเอนไซม์เซลลูเลสที่มีเพกทิเนส
รหัสดีโอไอ
Title การกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้าย ด้วยเอนไซม์เซลลูเลสที่มีเพกทิเนส
Creator เบญจมาส ขวัญคง
Contributor อุษา แสงวัฒนาโรจน์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ผ้าฝ้าย -- การทำความสะอาด, เพกติน, เซลลูเลส, เอนไซม์, Cotton fabrics|xCleaning, Pectin, Cellulase, Enzymes
Abstract งานวิจัยนี้ได้นำเอนไซม์เซลลูเลสทางการค้า ANP-N300 ซึ่งปกติใช้สำหรับการฟอกสีผ้ายีนส์และกำจัดขนบนผ้าใยเซลลูโลส มาใช้ในการกำจัดสิ่งสกปรก (เช่น เพกทินและขี้ผึ้ง) บนผ้าฝ้าย เนื่องจากพบว่ามีแอคติวิตีของเอนไซม์เพกทิเนสค่อนข้างสูง โดยทดลองหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดสิ่งสกปรก เช่น พีเอช อุณหภูมิ เวลา อัตราส่วนผ้าต่อสารละลาย ปริมาณเอนไซม์ และปริมาณสารช่วยเปียก ผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกแล้วถูกนำไปทดสอบสมบัติต่างๆ ตามมาตรฐานการทดสอบ เช่น ความสามารถในการดูดซึมน้ำ ระดับเพกทินบนผ้า ความสามารถในการย้อมติดสี ความขาว น้ำหนักของผ้าที่ขาดหายไป และความแข็งแรงของผ้า และเปรียบเทียบผลกับผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์เพกทิเนสทางการค้า Scourzyme L ซึ่งนิยมใช้สำหรับกระบวนการดังกล่าวในระดับอุตสาหกรรม จากผลการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายด้วยเอนไซม์ เซลลูเลส ANP-N300 มี 2 ภาวะคือที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที และที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เวลา 10 นาที โดยที่ทั้งสองภาวะ กระทำการกำจัดสิ่งสกปรกที่พีเอช 6.5 ใช้อัตราส่วนน้ำหนักผ้าต่อสารละลายเท่ากับ 1:50 ปริมาณเอนไซม์ 0.5 กรัม/ลิตร และปริมาณสารช่วยเปียก 1 กรัม/ลิตร ซึ่งการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์เซลลูเลส ANP-N300 ให้ผลใกล้เคียงกับการกำจัด สิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์เพกทิเนส Scourzyme L ผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ทั้งสองชนิดสามารถดูดซึมน้ำได้ทันที ผ้ามีความขาวเพิ่มขึ้นจากผ้าดิบ ผ้าสูญเสียน้ำหนักเพียงร้อยละ 2-3 และความแข็งแรงของผ้าไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก ถึงแม้ว่าผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรก ด้วยเอนไซม์ ANP-N300 มีปริมาณเพกทินบนผ้าสูงกว่าผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ Scourzyme L ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่การกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ ANP-N300 ก็สามารถขจัดเพกทินบนผ้าออกไปได้มากพอที่จะทำให้ผ้าดูดซึมน้ำได้ทันที ผ้ามีความขาว และความเข้มสีใกล้เคียงกันกับผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ Scourzyme L จึงสรุปได้ว่าสามารถใช้เอนไซม์เซลลูเลส ANP-N300 สำหรับการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายได้ผลดีเช่นเดียวกับการใช้เอนไซม์เพกทิเนส Scourzyme L ในกระบวนการดังกล่าว
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ