![]() |
ความสามารถด้านการสืบพันธุ์และอาหารของเต่าแก้มแดง Trachemys scripta elegans (Wied, 1839) ในบ่อเลี้ยง ณ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ความสามารถด้านการสืบพันธุ์และอาหารของเต่าแก้มแดง Trachemys scripta elegans (Wied, 1839) ในบ่อเลี้ยง ณ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
Creator | ชัยสุภา อินทรประพงศ์ |
Contributor | กำธร ธีรคุปต์, วรัญญา อรัญวาลัย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2553 |
Keyword | เต่าแก้มแดง -- การสืบพันธุ์, เต่าแก้มแดง -- อาหาร |
Abstract | เต่าแก้มแดง Trachemys scripta elegans เป็นเต่าพื้นเมืองในทวีปอเมริกา แต่ปัจจุบันมีรายงานการรุกรานในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเรื่องความสามารถด้านการสืบพันธุ์และอาหารของเต่าแก้มแดงในประเทศไทย เพื่อวางแนวทางการจัดการผลกระทบต่อระบบนิเวศที่อาจจะเกิดขึ้นจากเต่าแก้มแดงในอนาคต การทดลองในครั้งนี้ได้ศึกษาเต่าแก้มแดงวัยเจริญพันธุ์จำนวน 12 คู่ ในที่เลี้ยงที่จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 พบว่าเต่าแก้มแดงมีฤดูสืบพันธุ์ เริ่มตั้งแต่เกี้ยวพาราสีจนถึงช่วงวางไข่ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งต่างจากข้อมูลในถิ่นกำเนิดคือ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม ไข่ของเต่าแก้มแดงที่ฟักเองในหลุมดินธรรมชาติจะใช้ระยะเวลาโดยเฉลี่ย 97 วัน ซึ่งมากกว่าที่ฟักในวัสดุฟักที่ใช้เวลาเฉลี่ย 57 วัน และไข่ในหลุมดินฟักเป็นตัวเพียง 13.5% เมื่อเทียบกับการฟักในวัสดุฟักที่สูงถึง 92.1% การศึกษาด้านอาหารของเต่าแก้มแดงเพศผู้ เพศเมียและวัยอ่อน ชนิดละ 3 ตัว โดยเต่าแต่ละชนิดจะถูกทดสอบด้วยอาหารธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ พืชน้ำและสาหร่าย 29 ชนิด และสัตว์น้ำ 25 ชนิด พบว่าเต่าแก้มแดงเพศผู้สามารถกินพืชน้ำและสาหร่าย 14 ชนิด และกินสัตว์น้ำได้ 16 ชนิด เต่าแก้มแดงเพศเมียสามารถกินพืชและสาหร่ายได้ 20 ชนิด และกินสัตว์น้ำได้ 13 ชนิด และเต่าแก้มแดงวัยอ่อนสามารถกินพืชและสาหร่ายได้ 6 ชนิด และกินสัตว์น้ำได้ 13 ชนิด เมื่อทำการทดสอบอาหารเปรียบเทียบกับเต่านา Malayemys macrocephala ซึ่งเป็นเต่าพื้นเมืองของไทยพบว่า จำนวนชนิดอาหารที่เต่าแก้มแดงสามารถกินได้นั้นหลากหลายกว่าและครอบคลุมอาหารทั้งหมดของเต่านา การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า เต่าแก้มแดงในพื้นที่ศึกษามีความสามารถในการสืบพันธุ์ต่ำกว่าในถิ่นกำเนิด แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถอยู่รอดและเพิ่มขนาดประชากรได้นอกจากนี้เต่าแก้มแดงสามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ และสามารถกินอาหารได้หลากชนิด จึงมีความเป็นไปได้ที่เต่าชนิดนี้จะสามารถอยู่รอดและหากินอาหารตามธรรมชาติในแหล่งน้ำของประเทศไทยและอาจเกิดการแข่งขันกับเต่าพื้นเมืองของไทยได้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |