Phototoxic activities of selected Thai rutaceous and umbelliferous plant extracts
รหัสดีโอไอ
Title Phototoxic activities of selected Thai rutaceous and umbelliferous plant extracts
Creator Apirach Prachasupap
Contributor Nijsiri Ruangrungsi, Chanida Palanuvej
Publisher Chulalongkorn University
Publication Year 2553
Keyword Photobiology, Bacterial growth, Microbial growth, Plant extracts, Rutaceae -- Thailand, Umbelliferae -- Thailand, ชีววิทยากับแสงสว่าง, การเติบโตของแบคทีเรีย, การเติบโตของจุลชีพ, สารสกัดจากพืช, พืชวงศ์ส้ม -- ไทย, พืชวงศ์ผักชี -- ไทย
Abstract ได้ศึกษาในหลอดทดลองเกี่ยวกับฤทธิ์ที่ทำให้เซลล์ไวต่อแสงของสิ่งสกัดจากพืชบางชนิดในวงศ์ส้มและวงศ์ผักชีของไทย ทั้งหมด 25 ชนิด เพื่อค้นหาพืชที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์เมื่อถูกแสงกระตุ้น โดยทำการทดสอบกับเชื้อจุลินทรีย์มาตรฐานสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งให้เชื้อจุลินทรีย์ต่างๆเหล่านี้เป็นตัวแทนลักษณะของเซลล์ ได้แก่ แบคทีเรียแกรมลบ Escherichia coli ATCC25922, แบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcus aureus ATCC6538P และ Bacillus subtilis ATCC6633, รายีสต์ Candida albicans ATCC10230 และ Saccharomyces cerevisiae ATCC9763 จากการทดสอบความไวของเชื้อจุลินทรีย์โดยเทคนิคการแพร่บนอาหารวุ้นร่วมกับการฉายแสงอัลตร้าไวโอเลตเปรียบเทียบกับการไม่ฉายแสงต่อสิ่งสกัดจากพืชทั้งสองวงศ์รวม 25 ชนิด พบว่ามีพืชจำนวน 13 ชนิดที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์หรือฤทธิ์การยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆได้เมื่อถูกแสง คือ รากมะตูมแห้ง, ใบมะนาวผีสด, ใบมะสังแห้ง, ใบกระแจะแห้ง, ใบหอมแขกสดและใบมะนาวเทศสด ในวงศ์ส้ม ผักชีลาวทั้งต้นและผลแห้งของผักชีลาวหรือเทียนตาตั๊กแตน, เหง้าโกฐสอแห้ง, ผลคื่นไฉ่แห้ง, เทียนข้าวเปลือกแห้ง, ผลมะแหลบแห้ง, เทียนเยาวพาณีแห้งและเทียนสัตตบุษย์แห้ง ในวงศ์ผักชี ซึ่งการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของพืชเหล่านี้เป็นไปในลักษณะเลือกยับยั้งต่อเชื้อได้ในบางสายพันธุ์ และพบว่าสายพันธุ์ S. aureus ถูกเลือกในการยับยั้งมากที่สุดในขณะที่ B. subtilis, C. albicans และ S. cerevisiae ถูกเลือกรองลงมาตามลำดับ ในส่วนของ E. coli ถูกปฏิเสธการยับยั้งจากการทดสอบทั้งหมด
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ