The effects of curcumin and tetrahydrocurcumin on gingival microvascular dysfunction in diabetic rats
รหัสดีโอไอ
Title The effects of curcumin and tetrahydrocurcumin on gingival microvascular dysfunction in diabetic rats
Creator Dusit Promrug
Contributor Supathra Amatyakul, Suthiluk Patumraj, Siriporn Chotipaibulpan
Publisher Chulalongkorn University
Publication Year 2553
Keyword Microcirculation disorders, Gums -- Diseases, Gums -- Blood-vessels -- Abnormalities, Diabetics -- Complications
Abstract วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของสารเคอร์คิวมินและเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินต่อการสูญเสียหน้าที่ของหลอดเลือดขนาดเล็กที่เหงือกในหนูเบาหวาน โดยวิธีฉีดสารสเตรปโตโซโตซินเข้าทางหลอดเลือดดำเพียงครั้งเดียว ในขนาด 55 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม หนูวิสตาร์เพศผู้ น้ำหนัก 200-250 กรัม ได้ถูกแบ่งแบบสุ่มเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว คือ 1) กลุ่มควบคุม (CON) ที่ป้อนด้วยน้ำเกลือ (Normal saline solution) 2) กลุ่มควบคุมที่ได้รับการป้อนด้วยสารเคอร์คิวมิน (CON+CUR) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม 3) กลุ่มควบคุมที่ได้รับการป้อนด้วยสารเตตระไฮโดรเคอร์คิวมิน (CON+THC) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม 4) กลุ่มเบาหวาน (STZ) 5) กลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนด้วยสารเคอร์คิวมิน (STZ+CUR) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม 6) กลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนด้วยสารเตตระไฮโดรเคอร์คิวมิน (STZ+THC) ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ทำการทดลองหลังจากสัตว์ทดลองได้รับการฉีดสเตรปโตโซโตซินไปแล้ว 8 สัปดาห์ วันที่ทำการทดลองหนูถูกชั่งน้ำหนักและทำให้สลบจากนั้นทำการวัดการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเหงือกโดยใช้เลเซอร์ ดอปเปลอร์ โฟลเมตรี นับการเกาะติดของเม็ดเลือดขาวที่หลอดเลือดโพสแคปปิลารี่ เวนูล โดยวิธีอินทราไวทัล ฟลูออเรสเซ้นท์ ไมโครสโคปี้ เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเก็บเลือดจากหลอดเลือดที่ท้องเพื่อนำไปวัดระดับน้ำตาลในเลือด ไกลโคซิเลทเท็ดฮีโมโกบิล และระดับ TNF-α ในซีรัม จากนั้นทำการตัดเก็บเนื้อเยื่อของเหงือกทันทีเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์หาระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์จากผลการทดลองพบว่าหนูกลุ่มเบาหวานมีการลดลงของการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเหงือก ในขณะที่การเกาะติดของเม็ดเลือดขาวที่หลอดเลือด ระดับ TNF-α ในซีรัมและระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม ในขณะที่หนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนเคอร์คิวมินและหนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินพบว่ามีแนวโน้มในการเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณเหงือกแต่ยังไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามหนูทั้งสองกลุ่มมีการลดลงของการเกาะติดของเม็ดเลือดขาวที่หลอดเลือด ระดับ TNF-α ในซีรัมและระดับมาลอนไดอัลดีไฮด์ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มเบาหวาน นอกจากนี้พบว่าหนูกลุ่มเบาหวาน ที่ได้รับการป้อนเคอร์คิวมินและหนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับการป้อนเตตระไฮโดรเคอร์คิวมิน มีน้ำหนักตัวลดลงและมีระดับน้ำตาลในเลือดกับไกลโคซิเลทเท็ดฮีโมโกบิลเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สารเคอร์คิวมินและเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินสามารถป้องกันการสูญเสียหน้าที่ของหลอดเลือดขนาดเล็กที่เหงือกในหนูเบาหวานได้ โดยผลการป้องกันเกิดจากการยับยั้งภาวะออกซิเดทีฟสเตรส อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเคอร์คิวมินและเตตระไฮโดรเคอร์คิวมินพบว่า ผลของการป้องกันความผิดปกติไม่มีความแตกต่างกัน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ