![]() |
การใช้ผักตบชวาบำบัดคลอร์ไพริฟอส |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การใช้ผักตบชวาบำบัดคลอร์ไพริฟอส |
Creator | ชูชัย อนุเดชากุล |
Contributor | นัยนันทน์ อริยกานนท์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2553 |
Keyword | ผักตบชวา, คลอร์ไพริฟอส, Water hyacinth, Chlorpyrifos |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผักตบชวา Eichhornia crassipes Solms ในการกำจัดคลอร์ไพริฟอสในน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ผักตบชวาในชุดการทดลองที่ไม่มีคลอร์ไพริฟอส และชุดการทดลองที่มีคลอร์ไพริฟอสความเข้มข้นเริ่มต้น 0.1, 0.5 และ1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร จะมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น โดยมี RGRDW เท่ากับ 0.041, 0.039, 0.038 และ 0.036 มิลลิกรัมต่อกรัมต่อวัน ตามลำดับ ค่าคงที่ของอัตราการหายไปของ คลอร์ไพริฟอสในชุดการทดลองที่ไม่มีผักตบชวาแต่มีคลอร์ไพริฟอสเข้มข้น 0.1, 0.5 และ1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าเท่ากับ 3.52, 2.29, 1.84 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง และชุดการทดลองที่ปลูกผักตบชวาและเติมคลอร์ไพริฟอส ความเข้มข้น 0.1, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าเท่ากับ 17.19, 10.16 และ 7.16 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง ในชุดการทดลองที่เติมคลอร์ไพริฟอสความเข้มข้น 0.1, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตรพบว่าการสะสมคลอร์ไพริฟอสในผักตบชวาจะเกิดขึ้นมากที่สุดในส่วนราก>ลำต้น>ใบ ตามลำดับ ซึ่งปริมาณคลอร์ไพริฟอสที่สะสมในส่วนราก ลำต้น และใบ จะมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 290, 125 และ 98.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง และมีค่ามากที่สุดในวันที่ 3, 6 และ 8 ส่วนปริมาณ 3,5,6 trichloro-2-pyridinol ในทุกความเข้มข้นจะมีการสะสมในใบ>ลำต้น>ราก และมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 13.8, 11.8และ 9.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง และมีค่ามากที่สุดในวันที่ 10, 7 และ 5 ตามลำดับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |